สถาบันวิทยาลัยชุมชน จับมือ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่
สถาบันวิทยาลัยชุมชน จับมือ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นำร่อง 6 วชช. ได้แก่ แพร่ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ยโสธร ตราด สงขลาพร้อมของสมาพันธ์ฯ อีก 5 จังหวัด ลำปาง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี และอุดรธานี พร้อมจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน
โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.เป็นประธาน ลงนามความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาลัยชุมชน(วชช.) กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
ทั้งนี้ ศ.(พิเศษ) เอนก กล่าวว่า วิทยาลัยชุมชน เป็นสมาชิกใหม่ของ อว. เร็วๆ นี้ได้รับมอบหมายให้ทำงานใหม่ คือด้านการสร้างช่างศิลปท้องถิ่น เพื่อสร้างศิลปวัฒนธรรม และวิชาชีพ ให้จังหวัดและส่งเสริมการท่องเที่ยว การลงนามความร่วมมือถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะได้ใช้ประโยชน์จากวิทยาลัยชุมชน สร้างความรู้ใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมไปจนถึงอุตสาหกรรมศิลป ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยดีขึ้น ประเทศไทยมีบริษัทเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ จำนวนไม่น้อย ถือว่าทำเรื่องสำ เพราะถ้าประเทศมีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ประเทศไทยจะไปไม่รอด ดังนั้น เอสเอ็มอี หรือ สตาร์ทอัพ จึงสำคัญมาก แต่ขอให้ใช้วิทยาการให้มากขึ้น อย่าใช้แต่ความเคยชิน
ด้าน สิริกร มณีรินทร์ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน กล่าวว่า สถาบันวิทยาลัยชุมชน มีอายุครบ 17 ปี กำลังเข้าสู่ปีที่ 18 ถือว่ายังเป็นวัยรุ่น มีวิทยาลัยชุมชน 20 แห่งตั้งอยู่ตามพื้นที่ชายแดนชายขอบที่ยากจนที่สุดของประเทศ มีนักศึกษาประมาณ 1.4 หมื่นคน ระดับอนุปริญญา ทั้งนี้ ความร่วมมือกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.2564 ถึง วันที่ 30 ธ.ค.2566 หรือระยะเวลา 2 ปี 10 เดือน โดยจะมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของจังหวัด เพื่อผลิตคนสู่ท้องถิ่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น
เบื้องต้นจะมีการนำร่องความร่วมมือใน 6 จังหวัดที่มีวิทยาลัยชุมชน ได้แก่ แพร่ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ยโสธร ตราด และสงขลา ส่วนอีก 14 แห่งที่เหลือจะมีการ ขยายพื้นที่ดำเนินการตามที่จะตกลงร่วมกันต่อไป นอกจากนำร่อง 6 แห่งในส่วนของวิทยาลัยชุมชนแล้ว สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ยังจะสนับสนุนการทำงานของนักศึกษาที่ศึกษาในพื้นที่ข้างเคียง รวมทั้งนอกพื้นที่นำร่องอีก 5 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี และอุดรธานี ด้วย สถาบันฯ คาดหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ สถาบันฯ สามารถผลิตนักศึกษาได้ตรงกับความต้องการของตลาด
เท่ากับในระยะเริ่มต้นจะมีพื้นที่นำร่องในการดำเนินการ 11 พื้นที่ ได้แก่ แพร่ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ยโสธร ตราด สงขลา ลำปาง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี และอุดรธานี โดยทั้ง 11 พื้นที่ วิทยาลัยชุมชนและสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะทำงานเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และยุทธศาสตร์ของ อว. เรื่อง การยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากด้วย อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อววน.) โดยมีเป้าหมาย คือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยมีตัวชี้วัด คือ จำนวนชุมชน/ท้องถิ่นที่ อววน. เข้าไปช่วยพัฒนา” นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน กล่าว
ขณะที่ ณพพงศ์ ธีระวร ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ มีเครือข่ายเอสเอ็มอี ใน 76 จังหวัดและลงลึกไปในระดับอำเภออีก 882 แห่งและมีการดำเนินการไปถึงระดับชุมชน ความร่วมมือในครั้งนี้ คือ 1.จะนำกลไกของสมาพันธ์ไปร่วมวางแผนจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับชุมชน 2. นำนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนมาฝึกอบรม ฝึกงานกับสมาพันธ์ฯ เพราะการจะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ จะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ มีประสบการณ์การทำงาน ซึ่งไม่สามารถสอนในห้องเรียนได้ ต้องมาทำงานร่วมกัน และ 3.หลังสิ้นสุดความร่วมมือนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน สามารถมี 3 ทางเลือก คือ 1.เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ 2.ไปทำงานในองค์กรของรัฐ เอกชน และ 3.ไปเรียนต่อ
🙇♂️ที่มาข้อมูลละรูปภาพ: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921487
โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.เป็นประธาน ลงนามความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาลัยชุมชน(วชช.) กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
ทั้งนี้ ศ.(พิเศษ) เอนก กล่าวว่า วิทยาลัยชุมชน เป็นสมาชิกใหม่ของ อว. เร็วๆ นี้ได้รับมอบหมายให้ทำงานใหม่ คือด้านการสร้างช่างศิลปท้องถิ่น เพื่อสร้างศิลปวัฒนธรรม และวิชาชีพ ให้จังหวัดและส่งเสริมการท่องเที่ยว การลงนามความร่วมมือถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะได้ใช้ประโยชน์จากวิทยาลัยชุมชน สร้างความรู้ใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมไปจนถึงอุตสาหกรรมศิลป ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยดีขึ้น ประเทศไทยมีบริษัทเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ จำนวนไม่น้อย ถือว่าทำเรื่องสำ เพราะถ้าประเทศมีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ประเทศไทยจะไปไม่รอด ดังนั้น เอสเอ็มอี หรือ สตาร์ทอัพ จึงสำคัญมาก แต่ขอให้ใช้วิทยาการให้มากขึ้น อย่าใช้แต่ความเคยชิน
ด้าน สิริกร มณีรินทร์ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน กล่าวว่า สถาบันวิทยาลัยชุมชน มีอายุครบ 17 ปี กำลังเข้าสู่ปีที่ 18 ถือว่ายังเป็นวัยรุ่น มีวิทยาลัยชุมชน 20 แห่งตั้งอยู่ตามพื้นที่ชายแดนชายขอบที่ยากจนที่สุดของประเทศ มีนักศึกษาประมาณ 1.4 หมื่นคน ระดับอนุปริญญา ทั้งนี้ ความร่วมมือกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.2564 ถึง วันที่ 30 ธ.ค.2566 หรือระยะเวลา 2 ปี 10 เดือน โดยจะมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของจังหวัด เพื่อผลิตคนสู่ท้องถิ่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น
เบื้องต้นจะมีการนำร่องความร่วมมือใน 6 จังหวัดที่มีวิทยาลัยชุมชน ได้แก่ แพร่ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ยโสธร ตราด และสงขลา ส่วนอีก 14 แห่งที่เหลือจะมีการ ขยายพื้นที่ดำเนินการตามที่จะตกลงร่วมกันต่อไป นอกจากนำร่อง 6 แห่งในส่วนของวิทยาลัยชุมชนแล้ว สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ยังจะสนับสนุนการทำงานของนักศึกษาที่ศึกษาในพื้นที่ข้างเคียง รวมทั้งนอกพื้นที่นำร่องอีก 5 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี และอุดรธานี ด้วย สถาบันฯ คาดหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ สถาบันฯ สามารถผลิตนักศึกษาได้ตรงกับความต้องการของตลาด
เท่ากับในระยะเริ่มต้นจะมีพื้นที่นำร่องในการดำเนินการ 11 พื้นที่ ได้แก่ แพร่ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ยโสธร ตราด สงขลา ลำปาง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี และอุดรธานี โดยทั้ง 11 พื้นที่ วิทยาลัยชุมชนและสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จะทำงานเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และยุทธศาสตร์ของ อว. เรื่อง การยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากด้วย อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อววน.) โดยมีเป้าหมาย คือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยมีตัวชี้วัด คือ จำนวนชุมชน/ท้องถิ่นที่ อววน. เข้าไปช่วยพัฒนา” นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน กล่าว
ขณะที่ ณพพงศ์ ธีระวร ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ มีเครือข่ายเอสเอ็มอี ใน 76 จังหวัดและลงลึกไปในระดับอำเภออีก 882 แห่งและมีการดำเนินการไปถึงระดับชุมชน ความร่วมมือในครั้งนี้ คือ 1.จะนำกลไกของสมาพันธ์ไปร่วมวางแผนจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับชุมชน 2. นำนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนมาฝึกอบรม ฝึกงานกับสมาพันธ์ฯ เพราะการจะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ จะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ มีประสบการณ์การทำงาน ซึ่งไม่สามารถสอนในห้องเรียนได้ ต้องมาทำงานร่วมกัน และ 3.หลังสิ้นสุดความร่วมมือนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน สามารถมี 3 ทางเลือก คือ 1.เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ 2.ไปทำงานในองค์กรของรัฐ เอกชน และ 3.ไปเรียนต่อ
🙇♂️ที่มาข้อมูลละรูปภาพ: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/921487
1,822 คน
ข่าวธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
©2024 TaokaeCafe.com