SME กับการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน (Creative Thinking in Working) ทุกคนสามารถสร้าง Creative Thinking ได้ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ถูกสร้างขึ้นหลากหลาย อาทิ งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ นักเขียนเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ มักจะเป็นที่ต้องการมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่ทำด้านการตลาด การออกแบบ เอเยนซี่โฆษณา รวมไปถึงสำนักข่าวต่าง ๆ เช่น Creative สโลแกน หรือคำคมในการโฆษณาต่าง ๆ “คิดจะพัก คิดถึง KIT KAT”, “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา 7-Eleven” เป็นต้น
และเกิดนวัตกรรมแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ จอห์น ฮาวกินส์ กล่าวว่า The Creative Economy คือ ระบบการผลิต การแลกเปลี่ยนและการใช้ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความคิด (Ideas) ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ และเทคโนโลยี เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งอยู่บนฐานของความรู้
หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ แรงงานสร้างสรรค์ หรือแรงงานที่ประกอบอาชีพสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มการโฆษณาและการตลาด
- กลุ่มสถาปัตยกรรม
- กลุ่มศิลปหัตถกรรม
- กลุ่มการพิมพ์
- กลุ่มการออกแบบ (ออกแบผลิตภัณฑ์ กราฟฟิกและแฟชั่น)
- กลุ่มสื่อโสตทัศน์ (ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุและการถ่ายภาพ)
- กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และบริการคอมพิวเตอร์
- กลุ่มพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ และห้องสมุด
- กลุ่มดนตรี ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์
การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้น ประกอบด้วย
- จะต้องเปิดใจให้กว้าง และเลิกยึดติดกับการทำงานรูปแบบเก่า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- กำหนดเป้าหมาย แต่ไม่กำหนดวิธีการ เพื่อเปิดโอกาสให้นำเสนอวิธีหลากหลายอย่างเป็นอิสระ
- สร้างค่านิยมแห่งการสร้างสรรค์ พร้อมปลูกฝังเข้าไปในทีม โดยหัวหน้าทีมพยายามสื่อความคิดสร้างสรรค์ลงในชิ้นงาน
- สร้างบรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่น การอัพเดทความรู้ใหม่ที่ทันสมัย เพื่อเกิดแรงบันดาลใจคิดสร้างสรรค์ผลงาน
- การระดมสมองประลองปัญญากันในทีมงานอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นก่อให้เกิดไอเดีย ความคิดต่อยอดในการสร้างสรรค์ผลงาน
- ไม่ควรรีบด่วนตัดสินใจ ให้ลองมองหาความคิดอื่น ๆ มาเปรียบเทียบเสมอ
- อย่าปล่อยให้พนักงานจมอยู่กับสิ่งเดิม ๆ นานเกินไป ทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ จึงควรเปิดโลกทัศน์ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ
นอกจากนี้ การส่งเสริมนิสัย “ช่างสงสัย” ให้ทีมงานซึ่งองค์กรอาจต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่างขององค์กรคือ ให้โอกาสทีมงานได้เรียนรู้สิ่งใหม่ สร้าง Mindset ที่ทำให้เกิดความช่างสงสัย ส่งเสริมให้เกิดคำถามโง่ ๆ ภายในทีม เพื่อให้ทุกคนกล้าที่จะพูด กล้าที่จะคิด และกล้าที่จะทำ ความช่างสงสัยต้องเริ่มจากผู้นำ การให้คนในทีมได้แสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นการส่งเสริมความช่างสงสัยในการทำงานของคนในทีม ซึ่งนิสัย “ช่างสงสัย” ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในทีมได้
การฝึกบุคลากร SME ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
การฝึกตนเองให้มี Creative ทุกวันด้วยการเริ่มต้น
- จัดตารางเวลาประจำวัน ให้งาน Creative มาก่อนเสมอเริ่มต้นด้วยงานที่ต้องใช้สมองมาก ๆ อย่างงานครีเอทีฟ งานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์หนัก ๆ ส่วนงานที่เกี่ยวกับ ‘Reaction’ เช่น การประชุม การตอบอีเมล งานที่มีการโต้ตอบไปมา จัดไว้ช่วงบ่าย
- ควรจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน สร้างบรรยากาศแวดล้อมให้เกิด Creative
- ฝึกสมองให้คิดทุกวันและจัดเวลาสำหรับลับไอเดียให้คมอยู่เสมอ การลองคิดไอเดียใหม่ ๆ
- หยุดบ้างเมื่อเหนื่อยล้าหรือนั่งทำงานมาทั้งวัน การงีบหลับระหว่างวัน กลับมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด เพราะในยามที่เรารับข้อมูลจำนวนมหาศาลจนโอเวอร์โหลด สมองประมวลผลตามไม่ทัน ให้ลองนอนพักสักงีบ (ประมาณ 1-2 ชม.) เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สมองของคุณจะมีพลังคิดไอเดียดี ๆ หรือคิดวิธีแก้ปัญหาออกได้ดีกว่าฝืนทนนั่งคิดจนหัวแทบแตก
- ให้เวลากับตัวเอง ควรหยุดพักให้เวลากับตัวเองบ้าง การได้อยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ หาที่สงบ ๆ ให้กับตัวเอง ให้สมองได้พักอย่างจริงจัง และทบทวนสิ่งที่ได้ทำประจำวัน
- อย่ามัวแต่รออารมณ์ การวางแผนในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การรอเวลารออารมณ์คือข้ออ้างของความขี้เกียจ อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นศัตรูของตัวเอง
การฝึกคิดแบบนักออกแบบ (Design Thinking) การนำทักษะการนำเสนอ หรือ Presentation Skill ของนักออกแบบมาใช้ฝึกให้มีความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่
- ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ Creative Thinking บันไดขั้นแรกสู่การเป็นคน Creative คือ “เลิกตีตราตัวเองว่าเราไม่มีความคิดสร้างสรรค์” ทั้งนี้ความความคิดสร้างสรรค์สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ นอกจากนี้การเพิ่มวัตถุดิบ หรือความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ควรมีหลากหลายไม่ควรกระจุกอยู่แค่หัวข้อเดียว และควรฝึกการเชื่อมโยงวัตถุดิบที่มีเข้ากับสิ่งที่เจอในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน
- ทักษะการช่างสังเกต Curiosity การเป็นคนช่างสังเกตจะช่วยให้สามารถมองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ และคิดไอเดียใหม่ ๆ ได้ การหยุดสังเกตสิ่งรอบ ๆ อย่างตั้งใจ มีรูปแบบหรือ patternที่น่าสนใจ การฝึกจับแพะชนแกะ เป้าหมายการฝึกคือ “การฝึกคิดไอเดีย” และการฝึกตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวเพื่อลองหาไอเดียใหม่ ๆ
- ทักษะกระบวนคิดแบบนักออกแบบ Design Thinking กระบวนการออกแบบ (Design Process) แบ่งกระบวนการออกเป็น 5 ขั้นตอนคือ
- ขั้นตอนที่ 1 Collect Data / Research การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย การสังเกต เป็นต้น
- ขั้นตอนที่ 2 Define / Analyze การนำเอาข้อมูลที่เก็บได้จัดเป็นหมวดหมู่ นำมาคิดวิเคราะห์ หาความเชื่อมโยงของชุดข้อมูล เพื่อหา insight
- ขั้นตอนที่ 3 Brainstorm / Ideate เป็นการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาคิดแตกเป็นไอเดีย
- ขั้นตอนที่ 4 Develop / Prototype เป็นการนำไอเดียมาพัฒนาต่อโดยการนำมาทดลองสร้างออกมาเป็นต้นแบบ (Prototype) และ
- ขั้นตอนที่ 5 Test & Iteration การนำเอาไอเดียที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นต้นแบบนั้นออกไปทดสอบหรือขอความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายจริง เมื่อได้ Feedback มาแล้วนำกลับมาพัฒนาต่อ ซึ่งจะช่วยให้สามารถคิดต่อยอดได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น