เปิดโลกธุรกิจ การออกร้าน งานแสดงสินค้า ออกบูท ต้องเตรียมตัวอย่างไร

เปิดโลกธุรกิจ OPEN Business สวัสดีครับ พบกันในคอลัมน์ ที่ 3 ต่อจากจุดปิดกิจการในสัปดาห์ที่แล้ว บทความของสัปดาห์นี้ อยากพาไปศึกษาการตลาดในอีกรูปแบบหนึ่ง ของการออกร้าน หรือ งานแสดงสินค้า การออกบูทของผู้ประกอบการ ที่เมืองทองธานี งานรูปแบบนี้ ขอเรียกว่า งานปล่อยของ หรือ การโชว์ผลิตภัณฑ์ ของแต่ละบริษัท แต่ละแบรนด์ ซึ่งในแต่ละปีจะมีให้ปล่อยของแบบนี้อยู่หลายงาน คนที่จะปล่อยของในงานเองก็ต้องศึกษารูปแบบของการจัดงานที่แตกต่างกัน แนะนำให้ไปเดินดูของ ของคนอื่น ก่อนที่จะไปปล่อยของกับเขา เพราะในแต่ละงานจะมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละปี เพื่อที่จะดึงดูดคนมาร่วมออกร้าน คนมาเดินชมงาน การศึกษาตลาดก่อนวางแผนจะช่วยให้การออกร้านได้ผลลัพธ์กับธุรกิจสูงสุด คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายค่าบูธหลักหมื่น จนถึงหลักแสนก็ขึ้นกับขนาดของบูธ ถือเป็นอีก 1 กลยุทธ์ ที่ SMEs จะใช้ในการทดสอบตลาดได้ด้วย การศึกษากลุ่มเป้าของการจัดงาน และช่วงเวลาของการจัดงานก็มีความสำคัญ จึงต้องวางแผนล่วงหน้ากันหลายเดือน สถานที่จัดงานในกรุงเทพฯ ก็หนีไม่พ้น ไบเทค บางนา เมืองทองธานี ที่เป็นศูนย์จัดงานแสดงสินค้า เมื่อก่อนจะมีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้าใจว่าตอนนี้ปิดปรับปรุงชั่วคราว
เรามาศึกษาการตลาดไปพร้อม ๆ กัน จากกลุ่มเป้าหมาย Analyzing the Target Market
ฝั่งทฤษฎีมักจะบอกถึง Consumer Behavior and the Target Marketing Process พฤติกรรมลูกค้าปัจจุบันเปลี่ยนไปเยอะมาก แต่หลักการตลาด ยังคงเดิม ๆ การแบ่ง ส่วนตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และสร้าง จุดยืนทางการตลาด ในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้หลักเดิม ๆ หลักการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ซื้อกับผู้ขาย มีหลัก 5 ประการ ดังนี้
- Initiator คือ ที่ปรึกษาการขายที่ต้องอธิบายความคุ้มค่าของสินค้าได้
- Influencer คือ ผู้มีอิทธิพล หรือ คนชี้นำการซื้อ ปัจจุบันจะมีการรีวิว หรือโน้มน้าว เชียร์ให้คนซื้อสินค้า
- Decider คือ ที่ปรึกษาการซื้อให้กับคนที่จะซื้อ เมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าอื่น ๆ แล้ว อธิบายความคุ้มค่าของสินค้าได้
- Purchaser คือ คนที่จ่ายเงินหรือสรุปปิดการซื้อ
- User คือ คนที่ได้ใช้แล้วจริง ๆ
ซึ่งทั้ง 5 หัวข้อ ก่อนจะทำการตลาดก็ต้องศึกษาให้ครบถ้วน ตั้งแต่คนขาย ควรทำอย่างไร และในกรณีที่เราเป็นคนซื้อเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรที่จะถามคนขาย เราสามารถจำลองสถานการณ์ เพื่อซักซ้อมการขายให้พนักงานที่จะไปอยู่ประจำบูธได้ เมื่อพร้อมแล้วเราไปเดินสำรวจงาน ไปเป็นคนซื้อ ศึกษาดูคนขายของว่าเขาขายอย่างไรกัน




รูปแบบการลงทุน
- ชุดมินิ : เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้นทุนน้อยและต้องการรายได้เสริม ใช้บุคลากรน้อย ประหยัดเรื่องเวลา ต้นทุนต่ำ ร้านราคาที่ 29,000 บาท แถมฟรี สูตรเย็นตาโฟตีลังกาและสูตรต้มยำมะนาวชี้ฟ้า
- แบบชุดเล็ก : เป็นรถเข็นพร้อมอุปกรณ์พื้นฐาน 23 รายการ ราคา 49,000 บาท
- แบบชุดกลาง : เพมาะสำหรับร้านตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์หรือพื้นที่เฉพาะขนาดลาง มีอุปกรณ์พื้นฐานครบชุด (รวมชุดโต๊ะ + เก้าอี้ไม้ 6 ชุด) ราคา 99,000 บาท
- แบบชุดใหญ่ : เหมาะสำหรับร้านและทำเลขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์พื้นฐานครบชุดลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหา ขึ้นไปหรือพื้นที่เฉพาะสร้างเอง (รวมคีออสเอกลักษณ์แบบไม้รูปกะลาและชุดโต๊ะ+ เก้าอี้ไม้ 8 ชุด) ราคา 200,000 บาท
การวิเคราะห์โครงการลงทุน การออกแบบจำลองง่าย ๆ ระยะเวลาคืนทุน 4-6 เดือน ของชุดกลาง : เหมาะสำหรับร้านตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์หรือพื้นที่เฉพาะขนาดลาง มีอุปกรณ์พื้นฐานครบชุด (รวมชุดโต๊ะ + เก้าอี้ไม้ 6 ชุด) พร้อมขาย ราคา 99,000 บาท
รูปแบบที่ 1
ระยะเวลาคืนทุน 4 เดือน จะต้องได้กำไรเฉลี่ย 24,750 บาท / เดือน (รายได้ต่อปี 297,000 บาท)
รูปแบบที่ 2
ระยะเวลาคืนทุน 6 เดือน จะต้องได้กำไรเฉลี่ย 16,500 บาท / เดือน (รายได้ต่อปี 198,000 บาท)
เราพอใจกับรายได้ในรูปแบบที่ 1 หรือ รูปแบบที่ 2 อยู่ที่เราบริหารแล้ว ยิ่งเราลงทุน 99,000 บาทแล้ว สามารถสร้างรายได้ต่อปีหลังจากคืนทุนในรูปแบบที่ 1 และที่ 2 ถือว่าดีมาก ๆ ยิ่งมีสาขามากก็ยิ่งได้กำไรมากขึ้นด้วย
บทความนี้น่าจะชวนคิดว่าการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ไม่ลงทุนเลยอาจจะเสี่ยงมากกว่านี้ก็ได้ และน่าจะเป็นการเปิดโลกธุรกิจแบบง่ายๆได้นะครับ พบกันในบทความต่อไปจะพาไปศึกษาการออกแบบแนวคิดของการสร้างโมเดลธุรกิจก๋วยเตี๋ยวกันต่อ ติดตามกันได้ที่ “TAOKAE Cafe“