Business Model กับเทรนด์กระแสของโลกยุค Metaverse
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับและยินดีที่ได้มาเขียนบทความให้กับชาว SMEs Taokae Cafe กัน ขอถอดบทเรียน ตำราบ้าง จากงานที่ปรึกษาและจากการบริหารธุรกิจ 26 ปี ที่จะมาเล่าสู่กันฟังให้ทันยุคทันสมัยตามเทรน ตามกระแสของโลกยุค Metaverse แต่ยังคงอ้างอิงหลักการตลาด Principle of Marketing ที่จะแบ่งออกเป็นเรื่อง ๆ เริ่มต้นจากแนวคิดการตลาด และการบริหารธุรกิจตาม Business Model ที่หลายคนคงเคยคุ้นเคยกัน ตั้งแต่ 5 Force Model แรงกดดันทั้ง 5 ประการที่เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการวิเคราะห์ คู่แข่งขันในของธุรกิจที่เราทำหรือกำลังจะเลือกทำกิจการ ซึ่งมันอาจจะส่งผลกระทบกับเราทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็อย่าพึ่งรีบถอดใจกันนะครับ นี้มันแค่เริ่มต้นของการศึกษาภาพรวมเท่านั้นเอง
Bargaining Power of Customers ที่มาจาก Five Forces Model เป็นแรงกดดัน 1 ใน 5 แรงกดดันที่เราต้องข้ามผ่านมันไปให้ได้ ก่อนที่จะมาวางแผนกลยุทธ์ ดำเนินกิจการ โดยที่ Michael E. Porter จากมหาวิทยาลัย Harvard เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้
Five Forces (5 Forces)
มาดูแรงกดดันแรก Bargaining Power of Customers เป็นแรงกดดันของลูกค้ายิ่งในธุรกิจที่คล้ายเหมือนกัน เรามักจะโดนเปรียบเทียบตั้งแต่ รูปแบบ คุณสมบัติและราคาเป็นต้น สุดท้ายเราไม่แตกต่างจากคู่แข่ง ตลาดจะเป็นคนตั้งราคาให้เราเอง ยกตัวอย่างให้ตรงกับเทรนการตลาดร้านอาหารในยุคปัจจุบัน ที่ผู้เขียนได้ไปสำรวจและทดลองใช้บริการร้านอาหารที่อยู่ใน FLOOR เดียวกัน ที่ศูนย์การค้าย่านรังสิต (กำลังจะสื่อสารเรื่องของ Location 1 ใน 4P ก็ คือ Place) นักการตลาดก็คงพอคุ้น ๆ กับ 4P หลายธุรกิจไป Focus ที่ Product หรือ P ตัวแรกก็ไม่ได้ผิด แต่เราจะเอาลูกค้าเป็นที่ตั้งหรือเราเป็นที่ตั้งก็เลือกเองได้ ตัวอย่างในบทความนี้ ขอเลือกทำเลเป็นที่ตั้ง เพื่อทำ Case Study ไปพร้อม ๆ กันเมื่อได้ PLACE จากการทำการสำรวจ เราเลือกใช้ STP ในการแบ่งกลุ่มลูกค้า Customer Segment เราควรระดมความคิด หรือ เรียกแบบเท่ ๆ ก็ Brainstorming เฉพาะในหัวข้อของการสำรวจพื้นที่ บริเวณห้างสรรพสินค้าย่านตลาดรังสิต ก่อนเลย (ที่เราสนใจ) หาจุดเด่นของพื้นที่ห้างดังย่านรังสิตและหาจุดเปรียบเทียบห้างรองในพื้นที่ไม่เกิน 10 กิโลเมตร ก่อนลงพื้นที่จริง ๆ มานั่งสุ่มหัว เขียนแผนที่ร่วมกัน อาจจะมีคนร่วมแนวคิดอย่างน้อย 2 ถึง 6 คน คละอายุ คละอาชีพ และ คละประสบการณ์ ยิ่งดี คนที่คิดเหมือนกันแบบตัวอย่างก็จะไม่หนีกันเลย แค่หัวข้อแรก ก็ไม่หมูแล้วนะครับ ในการกำหนดทิศทาง ข้อดี ข้อด้อยของทำเลที่ตั้งของร้านอาหารสัก 1 ร้าน นี้ยังไม่ได้ไปถึงตัวสินค้าและบริการเลยนะ ทำเหมือนกับงานวิจัยการตลาด เพื่อหาความต้องการของตลาดในพื้นที่นั้นเอง ทำให้นึกถึงเรื่องของการวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก หรือ PEST Analysis อีก 1 เรื่องที่ควรรู้ไว้บ้าง ก็ไม่ได้ผิดอะไร
หาอ่านได้บน GOOGLE มีเพียบ บอกก่อนไม่ต้องจำไปสอบนะครับ แค่อยากให้เข้าใจหลัก ๆ ของการตลาดกันบ้าง “Understanding Marketing Management.“ การตลาดในยุคปัจจุบันที่ควรต้องเรียนรู้ พฤติกรรมของลูกค้า หรือผู้บริโภคของเราให้ตรงตลาดยุคตามสมัยนั้นเอง "Defining Marketing for the New Reality"
นี้ แค่แรงกดดันแรกเท่านั้นเอง และเรื่องที่น่าสนใจของ Five Forces (5 Forces) มาดูแรงกดดันที่ 2 ก็ คือ Industry Rivalry การแข่งขันกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ธุรกิจที่คล้ายและเหมือนกับธุรกิจที่เราจะดำเนินกิจการ หากมีจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้ธุรกิจแข่งขันที่รุนแรงและเกิดการแย่งลูกค้ากัน กลายเป็นสมรภูมิเลือดสาด หรือ Red Ocean ทำไมถึงต้องเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ ก็เพื่อเราจะได้ประเมินสถานการณ์จำลองได้แม่นขึ้น
มาดูแบบจำลองแรกกัน เมื่อลูกค้าที่ตรงมาในพื้นที่หรือ FOOD Zone ใครจะเป็นตัวเลือก มาถึงตรงนี้
เราตัดเหลือแค่ 3P แล้วนะ (Product, Price, Promotion) คนที่จะเลือกเข้าร้านไหนในพื้นที่ของ Zone อาหารที่มีร้านนับ 10 ร้าน ร้านปิ้งย่าง ร้านชาบู ร้านสุกี้ ร้านอาหารญี่ปุ่น หรือ ร้านอาหารไทยซึ่งก็จะแบ่งแยกกันไปตามความชอบของลูกค้า แต่สิ่งที่สำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเปลี่ยนใจจาก ที่ตั้งใจจะมากินร้านนั้น ๆ หันมาร้านเราได้ ก็คือ รูปแบบของร้านที่ต้องสร้างจุดสัมผัสว่าอยากลอง หรือจะหลอกล่อด้วย Promotion พิเศษ หรือ Price ราคาก็เลือกได้หมด มาถึงตรงนี้ตัวผู้เขียนเอง ก็มีประสบการณ์ล่าสุด ”ที่ตกหลุมโดน ล่อด้วยกลยุทธ์ของร้านจนได้“ จากความหลากหลายของร้านชาบูไปเลย แหละตัวเองไม่เคยชอบเพราะคิดว่าเหมือน ๆ กัน ยิ่งเจอ โปรโมชั่น เจอ ราคา ทีมีให้เลือกถึง 4 รูปแบบ ที่ออกมาล่อความอยาก จากเริ่มต้น 400++, 600++, 800++ จนถึง 1,300++ เราเลือก 800++ เพราะคิดว่าคุ้มค่ากับเราและงบประมาณ 3 คนที่ 1 มื้อที่ไม่ควรเกิน 3,000 บาท ที่พอจ่ายได้ เมื่อกินอิ่มยังรู้สึกพึ่งพอใจกับเงินที่เสียไป นี้ คือ VP หรือ Value ที่คนชอบพูด ชอบเขียนกัน และก็คงได้กลับมาใช้บริการอีก สร้าง CRM กับเราจนได้ เพราะเกิดความคุ้มค่า คุ้มราคาจริง ๆ
ที่สำคัญแบบจำลองนี้เป็นวันจันทร์ ช่วงหลังเลิกงานพอดี คนร้านนี้บอกเลยต่อคิวเพียบ บทความนี้น่าจะพอทำให้เห็นหลักการออกแบบธุรกิจตามหลักการตลาดได้บ้าง เหลืออีก 3 แรงกดดัน ตามตามได้ใน EP ที่ 2 ดีไหมครับ ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านกันจนจบ เกิน 8 บรรทัดครึ่งจริง ๆ