เมื่อ 'ธุรกิจไทย' ต้องรับมือ 'SMEs จีน' บุกชิงตลาด
เมื่อ “ทุนจีน” กำลังคืบคลานเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของการโยกย้ายฐานคลังสินค้า และการเข้ามาปักหลักประกอบกิจการหรือค้าขาย โดยรุกทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ จนธุรกิจรายย่อยในไทยเผชิญการแข่งขันดุเดือดขึ้นอย่างน่ากังวล เป็นเหตุผลที่กลุ่มอุตสาหกรรมไทยไม่อาจอยู่นิ่งเฉย และต้องหารือกันเพื่อหาทางรับมือ
เหตุผลหลักๆ คือ จีนมองว่าไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีความพร้อมและตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็น ‘ศูนย์กลางอาเซียน’ เพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น
พฤติกรรมของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะ SMEs ที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ จะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลง เพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาส และทิศทางการเติบโต โดยธุรกิจ “บริการและเทคโนโลยี” จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของนักธุรกิจจีน ที่มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป
สำหรับข้อดีที่เป็นโอกาสต่อไป คือ นักธุรกิจจีนกำลังจะเข้ามาในลงทุนในไทยมากกว่าทุกวันนี้ เเละกระจายตัวไปในหลายภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อตีตลาดไทย หาช่องทางการตลาดโดยตรงเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจไทย
เหล่านี้เป็นโอกาสของนักธุรกิจไทย ที่จะเข้าไปเป็น “พันธมิตรร่วมทุน” หรือจับมือการค้าต่างๆ รวมไปถึงการให้บริการหรือขายบริการให้กับนักธุรกิจจีนที่มาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ด้าน “ความเสี่ยง” ที่ต้องระมัดระวังนั้น เมื่อนักธุรกิจจีนเลือกที่จะเข้ามาตีตลาดไทยเอง ก็ทำให้ “สมการการเเข่งขัน” เปลี่ยนเเปลงไป อีกทั้งนักธุรกิจจีนยังมาพร้อมกับเงินทุน ต้นทุนที่ต่ำกว่า เเละเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่า ตลอดจนวิธีการทำงานของนักธุรกิจจีนบางรายก็มีความก้าวร้าวมากกว่านักธุรกิจชาติอื่นๆ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องทำความเข้าใจให้รอบคอบ
🧐เถ้าแก่คาเฟ่ พาส่อง 2 แบรนด์ดังจากจีน ที่มาบุกประเทศไทยในขณะนี้
1. MINISO
ลักษณะธุรกิจจะเป็นแบรนด์ร้านค้าปลีกที่ขายของใช้สอยในชีวิตประจำวัน เข้าไทยสาขาแรกในไทยที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ สาขาศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ปี 2559 ซึ่งมีจุดเด่นสินค้าจากจีนที่ใช้สไตล์ญี่ปุ่นเป็นจุดขาย ขายสินค้าจิปาถะ ตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง กระเป๋า แก้วน้ำ เครื่องสำอาง โคมไฟ ไปจนถึงอุปกรณ์ IT, ราคาจับต้องได้
2. Mixue
ลักษณะธุรกิจจะเป็นแฟรนไชส์ไอศกรีม ชานมไข่มุก เข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 65, สาขาแรก แถวซอยรามคำแหง 53 โดยมีจุดเด่น ด้วยเฉดสีร้านที่เป็นสีแดง พร้อมมาสคอต ☃️❄️“Snow King”, เมนูหลากหลาย ราคาถูก สาขาเยอะ, ใช้กลยุทธ์ขยายสาขา ยึดทำเลย่านมหาวิทยาลัย และแหล่งวัยรุ่น
ที่ผ่านมา “จีน” ยังได้กลายเป็นแหล่งลงทุนรายใหญ่ที่สุดของไทย ปัจจุบันมีบริษัทจีนเกือบ 700 แห่งที่มาลงทุนในไทย รวมทั้งยังมีแบรนด์ชื่อดังจากจีนที่เข้ามาเจาะตลาดในไทยจำนวนไม่น้อยด้วยเช่นกัน
สะท้อนให้เห็นว่า “จีน” มอง “ไทย” เป็นทั้งคู่ค้าที่สำคัญ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ที่จะสามารถผลักดันการเติบโตของธุรกิจ
ดังนั้น ผู้ค้าไทยอาจจำเป็นต้องปรับตัว จากการนำเข้าสินค้าจีนมาขายต่ออย่างสมัยก่อน หรือขายสินค้าที่จีนก็ผลิตได้เหมือนกัน เปลี่ยนเป็น “สินค้าที่มีเอกลักษณ์” ที่ต้องใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์แทน ซึ่งไทยโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว อีกทั้งคุณภาพสินค้าไทยยังเป็นที่ยอมรับจากตลาดโลก
หากไทยสามารถนำจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์ ปั้นเป็นแบรนด์เฉพาะตัวขึ้นมา เน้นสู้ด้านคุณภาพและความแปลกใหม่ จะช่วยรับมือสินค้าโหลจากจีนได้ดียิ่งขึ้น
เหตุผลหลักๆ คือ จีนมองว่าไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีความพร้อมและตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็น ‘ศูนย์กลางอาเซียน’ เพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น
พฤติกรรมของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะ SMEs ที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ จะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลง เพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาส และทิศทางการเติบโต โดยธุรกิจ “บริการและเทคโนโลยี” จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของนักธุรกิจจีน ที่มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป
สำหรับข้อดีที่เป็นโอกาสต่อไป คือ นักธุรกิจจีนกำลังจะเข้ามาในลงทุนในไทยมากกว่าทุกวันนี้ เเละกระจายตัวไปในหลายภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อตีตลาดไทย หาช่องทางการตลาดโดยตรงเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจไทย
เหล่านี้เป็นโอกาสของนักธุรกิจไทย ที่จะเข้าไปเป็น “พันธมิตรร่วมทุน” หรือจับมือการค้าต่างๆ รวมไปถึงการให้บริการหรือขายบริการให้กับนักธุรกิจจีนที่มาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
ด้าน “ความเสี่ยง” ที่ต้องระมัดระวังนั้น เมื่อนักธุรกิจจีนเลือกที่จะเข้ามาตีตลาดไทยเอง ก็ทำให้ “สมการการเเข่งขัน” เปลี่ยนเเปลงไป อีกทั้งนักธุรกิจจีนยังมาพร้อมกับเงินทุน ต้นทุนที่ต่ำกว่า เเละเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่า ตลอดจนวิธีการทำงานของนักธุรกิจจีนบางรายก็มีความก้าวร้าวมากกว่านักธุรกิจชาติอื่นๆ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องทำความเข้าใจให้รอบคอบ
🧐เถ้าแก่คาเฟ่ พาส่อง 2 แบรนด์ดังจากจีน ที่มาบุกประเทศไทยในขณะนี้
1. MINISO
ลักษณะธุรกิจจะเป็นแบรนด์ร้านค้าปลีกที่ขายของใช้สอยในชีวิตประจำวัน เข้าไทยสาขาแรกในไทยที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ สาขาศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ปี 2559 ซึ่งมีจุดเด่นสินค้าจากจีนที่ใช้สไตล์ญี่ปุ่นเป็นจุดขาย ขายสินค้าจิปาถะ ตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง กระเป๋า แก้วน้ำ เครื่องสำอาง โคมไฟ ไปจนถึงอุปกรณ์ IT, ราคาจับต้องได้
2. Mixue
ลักษณะธุรกิจจะเป็นแฟรนไชส์ไอศกรีม ชานมไข่มุก เข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 65, สาขาแรก แถวซอยรามคำแหง 53 โดยมีจุดเด่น ด้วยเฉดสีร้านที่เป็นสีแดง พร้อมมาสคอต ☃️❄️“Snow King”, เมนูหลากหลาย ราคาถูก สาขาเยอะ, ใช้กลยุทธ์ขยายสาขา ยึดทำเลย่านมหาวิทยาลัย และแหล่งวัยรุ่น
ที่ผ่านมา “จีน” ยังได้กลายเป็นแหล่งลงทุนรายใหญ่ที่สุดของไทย ปัจจุบันมีบริษัทจีนเกือบ 700 แห่งที่มาลงทุนในไทย รวมทั้งยังมีแบรนด์ชื่อดังจากจีนที่เข้ามาเจาะตลาดในไทยจำนวนไม่น้อยด้วยเช่นกัน
สะท้อนให้เห็นว่า “จีน” มอง “ไทย” เป็นทั้งคู่ค้าที่สำคัญ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ที่จะสามารถผลักดันการเติบโตของธุรกิจ
ดังนั้น ผู้ค้าไทยอาจจำเป็นต้องปรับตัว จากการนำเข้าสินค้าจีนมาขายต่ออย่างสมัยก่อน หรือขายสินค้าที่จีนก็ผลิตได้เหมือนกัน เปลี่ยนเป็น “สินค้าที่มีเอกลักษณ์” ที่ต้องใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์แทน ซึ่งไทยโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว อีกทั้งคุณภาพสินค้าไทยยังเป็นที่ยอมรับจากตลาดโลก
หากไทยสามารถนำจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์ ปั้นเป็นแบรนด์เฉพาะตัวขึ้นมา เน้นสู้ด้านคุณภาพและความแปลกใหม่ จะช่วยรับมือสินค้าโหลจากจีนได้ดียิ่งขึ้น
1,156 คน
ข่าวธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
©2024 TaokaeCafe.com