ถอดบทเรียน ชานมกระป๋องส่ง 7-Eleven ขาดทุน 17 ล้าน จากยูทูบเบอร์ชื่อดัง Bearhug
Bearhug ก่อตั้งโดย ซารต์-ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช และ กานต์-อรรถกร รัตนารมย์ ปัจจุบันมียอด subscribe กว่า 3.56 ล้านหลังประสบความสำเร็จจากการทำช่อง youtube ต่อมาได้ขยายธุรกิจ เปิดร้านชานมไข่มุกของตัวเองเป็นครั้งแรกในนามของ ‘Bearhouse’ กับสาขาแรกที่ตั้งอยู่บนทำเลทองอย่างสยามสแควร์ที่คนต่อคิวกันแบบยาวเหยียด และตอนนี้ได้ขยายสาขามากถึง 8 แห่ง
เมื่อการทำร้านชานมไปได้สวย จึงต่อยอดธุรกิจสู่ชานมในรูปแบบกระป๋อง ตีตลาดโดยขายใน 7-Eleven ภายใต้แบรนด์ชื่อ ‘Sunsu’ ในราคา 35 บาท มียอดขายสูงถึงร้อยล้านบาท!!! แต่…ขาดทุนถึง 17 ล้านบาท การต่อยอดครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ที่สองยูทูบเบอร์ได้แชร์ประสบการณ์ไว้ในช่องยูทูบของตัวเอง
1 ไม่มีความรู้ในการทำธุรกิจมากพอ
เพราะไม่เคยทำสินค้าเข้าเซเว่นมาก่อน เมื่อต้องผลิตสินค้าส่งให้เซเว่นที่มีมากถึง 12,000 สาขา ต้องมีต้นทุนในการผลิตกระป๋องเป็นจำนวนมากกว่า 10 ล้านบาท โดยไม่มีความรู้เลยว่าภายภาคหน้าต้องเจอกับการหมุนเงิน ภาษี ค่าจ้าง รวมถึงต้นทุนแฝง มารู้ตัวอีกทีคือ การขาดทุน2 ให้ความสำคัญกับรสชาติเกินไป ทำให้มีต้นทุนสูง
แม้จะมีสูตรที่จะทำให้ช่วยลดค่าภาษีความหวานได้ โดยใช้วัตถุดิบอื่นแทน โดยต้นทุนถูกลง 50% แต่กลับเลือกสูตรที่มีต้นทุนสูง แต่ทางรอดคือการปรับสูตรใหม่เพื่อทำให้สินค้าอยู่รอด แต่ไม่อยากปรับเพราะหากสินค้าไม่อร่อยในแบบที่ชอบ ก็ไม่มีความสุขกับสินค้าที่เราขาย3 การบริหารเวลาไม่ดี
สั่งผลิตกระป๋องมา 1,000 กระป๋อง และทำการตลาด แต่ความต้องการของคนเป็น 2,000 กระป๋อง เมื่อความต้องการเยอะจึงไปสั่งผลิตในรอบหน้า ส่งผลให้การบริการช่วงความต้องการคนกับสิ่งที่เราผลิตไม่สอดคล้องกัน เพราะในช่วงที่คนต้องการเยอะ ๆ ผลิตสินค้าไม่พอ แต่เมื่อกระแสความต้องการเริ่มลดลงก็สั่งผลิตเยอะ ทำให้จำนวนสต็อกไม่พอดี4 Shelf-Life ของสินค้าต้องมากกว่า 10 เดือน
เมื่อเซเว่นมี 12,000 สาขา เพราะฉะนั้น Shelf-Life หรืออายุของสินค้า สำคัญมาก สมมุติว่า สินค้าอายุ 1 ปี คุณต้องส่งเซเว่น ส่ง Shelf-Life ต้องมีอายุมากกว่า 10 เดือนเป็นต้นไป เพราะว่าต้องกระจายสินค้าไปทุกสาขา หากส่งของอายุแค่ 6 เดือน อาจทำให้สินค้าเน่าหน้าร้าน5 โปรดักซ์ เล่นให้ใจโตเกินไป
กระป๋องที่ผลิต เป็นกระป๋องที่สกรีนเข้าไปในกระป๋องเลย ทำให้ขาดทุนอีก 3 ล้านบาท จากค่ากระป๋องที่ไม่ได้ใช้ จากการยกเลิกการผลิตแล้ว ถ้าหากทำ Wrap ยี่ห้อแล้วสวมกระป๋อง เรายังสามารถเอากระป๋องไปขายต่อได้ แต่เราเลือกสกรีนชื่อแบรนด์ไว้บนกระป๋องเลยทำให้เวลาเราไม่ได้ใช้แล้ว กระป๋องคือเศษซาก มีต้นทุนเพิ่มในการทำลายกระป๋องนั้นเองเจ้าของแบร์เฮ้าส์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “การขาดทุนเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์โลก และอยากเตือนว่าอย่ากลัวการทำธุรกิจ และในการทำต้องศึกษาให้มากพอ อย่ามัวจมกับความล้มเหลว”
📢ฟังข้อมูลเต็ม ๆ จากคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=AOYRnBpbQQ4
6,232 คน
©2024 TaokaeCafe.com