หนุ่มไทยดังไกลระดับโลก คิดค้น โปรตีนจากขนไก่ !
“ศรวุฒิ กิตติบัณฑร หรือกัณฑ์” หนุ่มไทยที่ดังไปทั่วโลก เพราะคิดค้นนำขนไก่มาแปรรูปเป็นโปรตีนทางเลือกให้คนสามารถกินแทนเนื้อสัตว์ได้
คุณ “ศรวุฒิ” เรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทำงานเป็นสถาปนิก สนใจการพัฒนาวัสดุจากสิ่งต่าง ๆ จึงต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุเดิมในความตั้งใจใหม่ หรือวิธีการใหม่ จึงเลือกเรียนปริญญาโท คือที่เซ็นทรัล เซนต์ มาร์ตินส์ (Central Saint Martins College) สาขาการออกแบบวัสดุอนาคต ที่ลอนดอน
ก่อนเรียนจบได้ทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับการพัฒนาขนไก่ให้เป็นอาหาร ชื่อโปรเจกต์ “A lighter delicacy” เริ่มโปรเจกต์เมื่อกลางปี 2019 จบเมื่อปี 2020 แม้จะมีโควิด-19 เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรค เพราะ “ศรวุฒิ” ได้ส่งผลงานไปโชว์ที่งานนิทรรศการออกแบบระดับโลก ที่งานดีไซน์วีก ทั้งที่เนเธอร์แลนด์ และที่ดูไบ โดยผลิตวิดีโอที่เล่าเรื่องราวจานอาหาร ที่มีวัตถุดิบจากขนไก่ กลายเป็นสเต๊กน่ากิน จนเข้าตาสื่อต่างชาติทั้งซีเอ็นเอ็น และรอยเตอร์
เมื่อ “ศรวุฒิ” กลับมาเมืองไทย สื่อต่างชาติจึงตามมาสัมภาษณ์และถ่ายทอดเรื่องราวที่มาแนวคิดเกี่ยวกับผลงานของเขา โดยยังมีบล็อกเกอร์อาหารมาชิมชิ้นเนื้อที่ฃหน้าตาดูไม่ต่างจากเนื้อสเต๊กชั้นดี
โดยปรุงและจัดจานสวยงาม ที่ “ศรวุฒิ” เสิร์ฟ จนเป็นที่ประทับใจของคนชิม
เนื้อไก่เป็นประเภทอาหารที่คนรับประทานกันมาก และในอีก 20-30 ปีข้างหน้าก็จะมีคนกินมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงโตเร็ว
เนื้อจาก “ขนไก่” มีกรดอะมิโน แถมยังช่วยลดขยะ
เพราะขนไก่แม้จะเบาแต่แข็งแรง เหนียวฉีกขาดยาก ขนไก่ป้องกันความหนาวเย็นจากภายนอก และป้องกันความอุ่นออกจากตัวไก่ จึงทำให้ขนไก่ใช้เวลาย่อยสลายยากและนาน คล้ายเส้นผมของคน นี่คือความคิดรวบยอดที่ "ศรวุฒิ" มองเห็นปัญหาของขยะจากขนไก่
ระหว่างอยู่ที่ลอนดอนเพื่อเริ่มวิจัย ก็เริ่มไปตลาดในลอนดอนซื้อขนไก่มา โดยมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมวิจัยด้วย พบว่าขนไก่มีโปรตีนที่ดีเทียบเท่ากับอกไก่ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีคุณค่าทางอาหารที่คนนำมาใช้ได้ แต่เราไม่สามารถกินขนไก่ได้โดยตรง จึงต้องหาเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อทำให้ขนไก่เป็นอาหารได้
เมื่อการฆ่าไก่ 1 ตัว สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนได้มากที่สุด ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ต้นทุนถูกลง และเราไม่ต้องฆ่าไก่จำนวนมากอีกต่อไป แต่เหมือนกับได้เพิ่มเนื้อไก่อีก 10% จากเดิม
นอกจากลดการดูแลต้นทุนการเลี้ยงและการขนส่ง และลดปริมาณขยะได้ด้วย
ที่มา https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1997439
คุณ “ศรวุฒิ” เรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทำงานเป็นสถาปนิก สนใจการพัฒนาวัสดุจากสิ่งต่าง ๆ จึงต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุเดิมในความตั้งใจใหม่ หรือวิธีการใหม่ จึงเลือกเรียนปริญญาโท คือที่เซ็นทรัล เซนต์ มาร์ตินส์ (Central Saint Martins College) สาขาการออกแบบวัสดุอนาคต ที่ลอนดอน
ก่อนเรียนจบได้ทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับการพัฒนาขนไก่ให้เป็นอาหาร ชื่อโปรเจกต์ “A lighter delicacy” เริ่มโปรเจกต์เมื่อกลางปี 2019 จบเมื่อปี 2020 แม้จะมีโควิด-19 เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรค เพราะ “ศรวุฒิ” ได้ส่งผลงานไปโชว์ที่งานนิทรรศการออกแบบระดับโลก ที่งานดีไซน์วีก ทั้งที่เนเธอร์แลนด์ และที่ดูไบ โดยผลิตวิดีโอที่เล่าเรื่องราวจานอาหาร ที่มีวัตถุดิบจากขนไก่ กลายเป็นสเต๊กน่ากิน จนเข้าตาสื่อต่างชาติทั้งซีเอ็นเอ็น และรอยเตอร์
เมื่อ “ศรวุฒิ” กลับมาเมืองไทย สื่อต่างชาติจึงตามมาสัมภาษณ์และถ่ายทอดเรื่องราวที่มาแนวคิดเกี่ยวกับผลงานของเขา โดยยังมีบล็อกเกอร์อาหารมาชิมชิ้นเนื้อที่ฃหน้าตาดูไม่ต่างจากเนื้อสเต๊กชั้นดี
โดยปรุงและจัดจานสวยงาม ที่ “ศรวุฒิ” เสิร์ฟ จนเป็นที่ประทับใจของคนชิม
เนื้อไก่เป็นประเภทอาหารที่คนรับประทานกันมาก และในอีก 20-30 ปีข้างหน้าก็จะมีคนกินมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงโตเร็ว
เนื้อจาก “ขนไก่” มีกรดอะมิโน แถมยังช่วยลดขยะ
เพราะขนไก่แม้จะเบาแต่แข็งแรง เหนียวฉีกขาดยาก ขนไก่ป้องกันความหนาวเย็นจากภายนอก และป้องกันความอุ่นออกจากตัวไก่ จึงทำให้ขนไก่ใช้เวลาย่อยสลายยากและนาน คล้ายเส้นผมของคน นี่คือความคิดรวบยอดที่ "ศรวุฒิ" มองเห็นปัญหาของขยะจากขนไก่
ระหว่างอยู่ที่ลอนดอนเพื่อเริ่มวิจัย ก็เริ่มไปตลาดในลอนดอนซื้อขนไก่มา โดยมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมวิจัยด้วย พบว่าขนไก่มีโปรตีนที่ดีเทียบเท่ากับอกไก่ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีคุณค่าทางอาหารที่คนนำมาใช้ได้ แต่เราไม่สามารถกินขนไก่ได้โดยตรง จึงต้องหาเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อทำให้ขนไก่เป็นอาหารได้
เมื่อการฆ่าไก่ 1 ตัว สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนได้มากที่สุด ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ต้นทุนถูกลง และเราไม่ต้องฆ่าไก่จำนวนมากอีกต่อไป แต่เหมือนกับได้เพิ่มเนื้อไก่อีก 10% จากเดิม
นอกจากลดการดูแลต้นทุนการเลี้ยงและการขนส่ง และลดปริมาณขยะได้ด้วย
ที่มา https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1997439
1,921 คน
©2024 TaokaeCafe.com