ตลาดแรงงานไทยปี 64 ธุรกิจปรับสู่โหมดดิจิทัลเตรียมรับมืออาชีพเปลี่ยน
เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกจึงสะท้อนมายังภาคแรงงานอย่างเห็นได้ชัด โดยจากตัวเลขในไตรมาส 2 ของปีนี้มีแรงงานตกงานถึง 750,000 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% ต่อกำลังแรงงานรวม ถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า แรงงานที่เคยมีงานทำกลับไม่มีงานทำอยู่ที่ 2.52 ล้านคนช่วงไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า และทั้งปีแรงงานไม่มีงานทำคาดจะอยู่ราว 2-3 ล้านคน ส่วนปี 2564 คาดว่าผลกระทบต่อแรงงานจะใกล้เคียงกับปี 2563 เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอนสูงเหตุจากวัคซีนที่เป็นความหวังในการรักษาโควิด-19 ที่ยังต้องอาศัยเวลา
แม้ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 64 คาดการณ์ว่าจะมีทิศทางที่พลิกกลับมาเป็นบวกได้จากปี 2563 แต่ตลาดแรงงานของไทยยังคงเปราะบางเนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงพึ่งพิงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากต่างชาติที่โอกาสจะเข้ามาในไทยยังคงจะมีต่ำอยู่ เช่นเดียวกับการส่งออกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอีกมากระหว่างทางข้างหน้า
รวมไปถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่พบว่ามีบางส่วนไม่อาจเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำให้เอสเอ็มอีเหล่านี้จะสามารถประคองตัวเองไปได้มากน้อยเพียงใดในปี 2564
ปัจจุบันแรงงานไทยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมมีราว 11.2 ล้านคน แบ่งแรงงานเป็น 3 ระดับหลักๆ ได้แก่
1. แรงงานที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานจนถึงอายุ 29 ปี กลุ่มนี้ง่ายที่จะนำมา Reskill หรือให้เรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อให้ทำงานที่ต่างไปจากเดิมได้โดยเฉพาะการก้าวสู่ระบบดิจิทัล
2. แรงงานอายุตั้งแต่ 30 ปีจนถึงไม่เกิน 45 ปี กลุ่มนี้ยังพอที่จะปรับกระบวนการทักษะให้คนทำงานได้ หรือ Upskill และ Reskill ได้บางส่วน
3. กลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้จะพัฒนายากขึ้น
หลังโควิด-19 วิถีปกติใหม่ หรือ New Normal ทำให้อาชีพหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนและหายไป แม้แต่สถาบันการศึกษายังต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ให้สอดรับกับอาชีพในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น แรงงานต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเพราะนายจ้างส่วนใหญ่จะเร่งนำเทคโนโลยีมาใช้แทนคนมากขึ้น
สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปภายใต้ New Normal และจะหันมาใช้เทคโนโลยีในการบริการมากขึ้น เช่นเดียวกับภาคเกษตรของไทยพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งที่ตกงานได้กลับไปสู่ภูมิลำเนาและยึดอาชีพเกษตรกรบางส่วน ซึ่งในที่สุดภาคเกษตรเองก็จะต้องปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน
ทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอนาล็อกจะถูกคุกคามโดยเฉพาะภาคบริการ พนักงานหน้าร้าน งานบริการลูกค้าแคชเชียร์ เหล่านี้จะลดบทบาทลง โดยอาชีพใหม่ของอนาคตจะมาพร้อมเทคโนโลยีดิจิทัลและเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ เช่น โปรแกรมเมอร์ งานที่เกี่ยวกับการควบคุมเทคโนโลยี หุ่นยนต์ เป็นต้น
ฉะนั้น แรงงานทุกวัยจำเป็นต้องปรับ Mindset ในการทำงานและมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการดำเนินธุรกิจ และต้องเข้าใจว่าระบบการจ้างงานในอนาคตกำลังเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
ที่มา :
https://mgronline.com/business/detail/9630000122851?fbclid=IwAR3RKP_4OxPxIa7RY1IU0iaPiIu9WsSzpxUKzD0kSnqNSCkI1SShwT-SCoQ
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า แรงงานที่เคยมีงานทำกลับไม่มีงานทำอยู่ที่ 2.52 ล้านคนช่วงไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า และทั้งปีแรงงานไม่มีงานทำคาดจะอยู่ราว 2-3 ล้านคน ส่วนปี 2564 คาดว่าผลกระทบต่อแรงงานจะใกล้เคียงกับปี 2563 เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอนสูงเหตุจากวัคซีนที่เป็นความหวังในการรักษาโควิด-19 ที่ยังต้องอาศัยเวลา
แม้ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 64 คาดการณ์ว่าจะมีทิศทางที่พลิกกลับมาเป็นบวกได้จากปี 2563 แต่ตลาดแรงงานของไทยยังคงเปราะบางเนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงพึ่งพิงการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจากต่างชาติที่โอกาสจะเข้ามาในไทยยังคงจะมีต่ำอยู่ เช่นเดียวกับการส่งออกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอีกมากระหว่างทางข้างหน้า
รวมไปถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่พบว่ามีบางส่วนไม่อาจเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำให้เอสเอ็มอีเหล่านี้จะสามารถประคองตัวเองไปได้มากน้อยเพียงใดในปี 2564
ปัจจุบันแรงงานไทยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมมีราว 11.2 ล้านคน แบ่งแรงงานเป็น 3 ระดับหลักๆ ได้แก่
1. แรงงานที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานจนถึงอายุ 29 ปี กลุ่มนี้ง่ายที่จะนำมา Reskill หรือให้เรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อให้ทำงานที่ต่างไปจากเดิมได้โดยเฉพาะการก้าวสู่ระบบดิจิทัล
2. แรงงานอายุตั้งแต่ 30 ปีจนถึงไม่เกิน 45 ปี กลุ่มนี้ยังพอที่จะปรับกระบวนการทักษะให้คนทำงานได้ หรือ Upskill และ Reskill ได้บางส่วน
3. กลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป กลุ่มนี้จะพัฒนายากขึ้น
หลังโควิด-19 วิถีปกติใหม่ หรือ New Normal ทำให้อาชีพหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนและหายไป แม้แต่สถาบันการศึกษายังต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ให้สอดรับกับอาชีพในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น แรงงานต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเพราะนายจ้างส่วนใหญ่จะเร่งนำเทคโนโลยีมาใช้แทนคนมากขึ้น
สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปภายใต้ New Normal และจะหันมาใช้เทคโนโลยีในการบริการมากขึ้น เช่นเดียวกับภาคเกษตรของไทยพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งที่ตกงานได้กลับไปสู่ภูมิลำเนาและยึดอาชีพเกษตรกรบางส่วน ซึ่งในที่สุดภาคเกษตรเองก็จะต้องปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน
ทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอนาล็อกจะถูกคุกคามโดยเฉพาะภาคบริการ พนักงานหน้าร้าน งานบริการลูกค้าแคชเชียร์ เหล่านี้จะลดบทบาทลง โดยอาชีพใหม่ของอนาคตจะมาพร้อมเทคโนโลยีดิจิทัลและเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ เช่น โปรแกรมเมอร์ งานที่เกี่ยวกับการควบคุมเทคโนโลยี หุ่นยนต์ เป็นต้น
ฉะนั้น แรงงานทุกวัยจำเป็นต้องปรับ Mindset ในการทำงานและมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการดำเนินธุรกิจ และต้องเข้าใจว่าระบบการจ้างงานในอนาคตกำลังเปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
ที่มา :
https://mgronline.com/business/detail/9630000122851?fbclid=IwAR3RKP_4OxPxIa7RY1IU0iaPiIu9WsSzpxUKzD0kSnqNSCkI1SShwT-SCoQ
2,455 คน
ข่าวธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
©2024 TaokaeCafe.com