EMPLOYEE พนักงานประจำสู่เจ้าของกิจการต้องทำอย่างไร
บทความนี้อยากจะคุยในเรื่องของลูกจ้างกันบ้าง บทความที่แล้วคุยเรื่องกลยุทธ์ของการตลาดแล้ว อยากจะชวนคุยเรื่องที่ยากที่สุดอีก 1 หัวข้อ สำหรับคนวัย 40 ขึ้นไป อย่างเราๆ ที่เป็นคน Gen – X ที่เกิดช่วง พ.ศ. 2508-2522 เป็นคนวัยทำงาน ส่วนใหญ่ในช่วงเริ่มต้นก็คงผ่านการเป็นลูกจ้างประจำ
จึงอยากคุยเรื่องเก่าย้อนวันวานกันหน่อยดีไหมว่า ที่ผ่านมามองเห็นอะไรจากการเป็นลูกจ้าง เริ่มนับจากเรียนจบ ในที่นี้ขอจบปริญญาตรี อายุส่วนใหญ่ ก็ 22 – 30 และตัวของพี่เองจบ ป.ตรี ตอนอายุ 26 ปี พ.ศ. 2543 เพราะมัวแต่ไปตามหาฝันสมัยวัยรุ่น ตอนยังไม่มีครอบครัว ยังไม่ได้มีภาระหน้าที่ของการรับผิดชอบมากนัก จึงขอนำ ตัวอย่าง หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าการเป็นลูกจ้างประจำหลังจบ ป.ตรี จนลาออกมาเป็นเจ้าของกิจการตอน ปี พ.ศ. 2550 ที่ใช้เวลาเรียนรู้ 7 ปี ใน 2 องค์กรที่ทำงานแตกต่างกัน ทำให้เข้าใจองค์กรที่มีคนในบริษัท 400 กว่าคน กับในองค์กรขนาดเล็กที่มีคนไม่ถึง 40 คน เราต่างได้ประสบการณ์ที่ดีมาใช้ในการเป็นเจ้าของกิจการ ที่
และ 1 เรื่องที่ Classic ที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องเงินเดือนและความก้าวหน้า แต่คนส่วนใหญ่เลือกเงินเดือนมากกว่า เพราะความก้าวหน้าอาจจะลาออกได้ เพราะเงินเดือนไม่พอใช้ มาดูเคสตัวอย่างพี่เป็นกรณ์ ศึกษาที่ลาออก มี 3 เหตุผล
1. เริ่มต้นเงินเดือน หลังจากจบปริญญาตรี ตอน ปี 2543 ได้เงินเดือนเริ่มต้น 12,500 บาทและทำงานผ่าน Pro ได้เพิ่มอีก 2,000 บาท ปีแรก พ.ศ. 2543 มีเงินเดือน 14,500 บาท ( ยังทำบัตรเครดิตไม่ได้ )
อัตราการปรับเงินเดือนสำหรับ สำหรับคนทำงานดี ขาด ลามาสายและผลงานดี ปรับเฉลี่ย 10 %
ทำงานครบรอบ ปีที่ 2 พ.ศ. 2545 รวมมีเงินเดือน 17,542 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 3 พ.ศ. 2546 รวมมีเงินเดือน 19,292 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 4 พ.ศ. 2547 รวมมีเงินเดือน 21,225 บาท
ลาออกตั้งแต่ก่อนปรับเงินเดือนที่ไม่ครบรอบ 4 ปี เดือนเงินสุดท้าย น่าจะ 21,225 บาท เพื่อไปเริ่มต้นใหม่ที่เงินเดือนสูงกว่าด้วยเหตุผล ลำดับถัดไป
2. เรื่องงาน ยิ่งเงินเดือนเยอะขึ้น เก่งขึ้น งานย่อมที่เยอะขึ้น คือ ปัญหา 1 เรื่องที่แก้ไม่ได้ เพราะระบบเถ้าแก่ ชอบใคร ใครทำได้ก็จะได้รับมอบหมายงานมาต่อเนื่องตลอด จนผลงานไม่ออกทำไม่ทัน ก็ คือ 1 เหตุผลที่รักองค์กรขนาดไหนก็ต้อง รักตัวเองขนาดนั้น ในการมองหาโอกาสใหม่ๆ
3. เรื่องของการเดินทาง และสรุปข้ออ้างที่ดีที่สุดของการลาออก เราแพ้ระยะทาง ค่าเดินทาง น้ำมันและเวลา คือ สิ่งที่ใช้บอกเจ้านายที่น่าจะรับฟังและถนอมน้ำใจกันและกันได้อย่างดีที่สุด ในการเขียนใบลาออกแบบไม่มีมีผลกระทบต่อสายงานที่ดูแลอยู่
อีกเหตุที่คุยกับรุ่นพี่เล่นๆ ว่าเราต้องทำงานอีก กี่ปีเราจะมีเงินเดือนหลักแสนบาทได้ จึงเกิดแบบจำลองเงินเดือนมาตรฐานชั้นดีที่ 10 % ที่เป็นต้นทุนหลักขององค์กรอาจจะที่ไม่ได้คิดไกลไปถึงเรื่องถึงพนักงานว่าอายุเกษียณควรได้เงินเท่าไร ซึ่งในฐานะพนักงานตัวเล็ก ตอนนั้นก็คิดว่าเราจะต้องได้เท่าไร ใช้จ่ายพอไหม มาดูแบบจำลองกันต่อครับ
ทำงานครบรอบ ปีที่ 5 พ.ศ. 2548 รวมมีเงินเดือน 23,348 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 6 พ.ศ. 2549 รวมมีเงินเดือน 25,682 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 7 พ.ศ. 2550 รวมมีเงินเดือน 28,250 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 8 พ.ศ. 2551 รวมมีเงินเดือน -31,075 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 9 พ.ศ. 2552 รวมมีเงินเดือน 34,183 บาท
ทำงานครบรอบ ปีที่ 10 พ.ศ. 2553 รวมมีเงินเดือน 37,601 บาท
การเริ่มต้นใหม่ขององค์การใหม่ หลังจากแสดงผลงาน ตอนเริ่มต้นขอเงินเดือน 26,000 บาทและครบ 1 ปี ปรับเงินเดือนเป็น 35,000 บาท ในปี 2549 ทำงานอยู่ 2 ปี จึงราคาออกจากการเป็นพนักงานประจำมาสู่เจ้าของกิจการ
จากแบบจำลองที่เทียบ ปี พ.ศ. 2549 ถ้าทำงานอยู่บริษัทแรกจะได้เงินเดือนประมาณ 25,682 บาท หรือ อาจน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ได้ ปีที่ทำงานใหม่ได้ที่ 35,000 ต่างกันชัดเจน ใกล้ 1 หมื่นบาท จริงและเรารู้เลยว่าเรามีผลงานเราจึงได้เงินเดือนสูงขึ้น นี้ไม่รวมกับอื่นๆ ที่รวมๆ 1 เดือนต้องมีรายได้ 5 หมื่นบาท และเหตุผลที่จะลาออกไปเริ่มต้นใหม่ในฐานะลูกจ้างกับเป็นเจ้าของกิจการ คงคิดคล้ายๆ กัน Income ต้องมากกว่า เพราะประสบการณ์สูงกว่า อายุที่ในวันนั้น ปี 2550 อยู่ที่ 33 ปี ก็คงพร้อมแล้วที่จะมีกิจการของตัวเอง ในวัยที่ยังคงพร้อม ทั้งร่างกายและจิตใจที่จะรับแรงกดดันต่างๆ ตลอด 15 ปีที่เป็นเจ้าของกิจการก็จะคิดอีกแบบต่างกับเป็นลูกจ้าง ที่ต้องหาทั้งงานและเงิน ในขณะเดียวกันก็ต้องแก้ทั้งปัญหาในองค์กรและลูกค้าอีกมากมาย
จึงต้องคิดที่จะบริหารองค์กรอย่างไรให้ลูกน้องมีรายรับหลักแสนเหมือนที่เราเคยคิด เมื่อทำได้แล้วมันน่าจะเพิ่มรายรับของบริษัทได้มากขึ้น เช่นกัน บทความนี้จึงนำประสบการณ์ 22 ปีมาเขียนในบทนี้กันครับ ซึ่งในทฤษฎีของ MBA โดยเฉพาะวิชาเรื่องคนหรือ HR ไม่ได้มีสอนไว้เลยครับ หวังว่าจะได้ ทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งที่นายจ้างและฝั่งที่เป็นลูกจ้าง เพราะทำธุรกิจอย่างไรก็มีลูกจ้างกับนายจ้างไม่พ้น จะมีมากมีน้อยก็คงต้องมี เจอกันในบทต่อไป