Marketing For Work การทำงานด้านลงทุน
จะผ่านพ้นไป 1 ปี ความหวังใหม่กำลังจะมาในปีถัดไป หลายคนที่มาปรึกษาไม่ค่อยกลัวเรื่องการทำธุรกิจ แต่มักจะบอกว่าไม่เก่งการตลาด บทความนี้ จึงขอย้อนกลับมา เริ่มต้น กับ คำว่า การตลาดแบบพื้นฐานที่ทุกคนน่าจะรู้ แต่อาจจะหลงลืม หรือ ไปฟัง แต่ศัพท์ ที่มันยาก ๆ ใครเคยไปตลาดมาบ้าง สมัยก่อนจะมี คำว่า “ ตลาดนัด “ คือ นัดกันมาที่ตลาด ทุก ๆ วันอาทิตย์ ตอนเช้าเป็นต้น
นี้ คือ ภาพจำสมัยที่ไปอยู่ที่บ้านต่างจังหวัด สมัยยังเด็ก ที่ปิดเทอมจะโดนส่งไปอยู่บ้านนอก และสมัยนั้น TV ยังไม่มี ไปหาปลา คือ วัยเด็ก วันไหนมีงานบุญ หรือ มีตลาดนัดจะดีใจมาก ๆ เพราะพ่อค้า จากที่ต่าง ๆจะมารวมตัวกันขาย คนซื้อก็ต่างหยุดงาน หยุดการทำสวนมาตลาด เพื่อที่จะซื้อสินค้า ทำให้เข้าใจว่า ตลาด ประกอบไปด้วย คนซื้อและคนขายนั้นเอง สมัยก่อนจะต้องนัดกันมาซื้อมาขาย ปัจจุบันมีตลาดสด ตลาดบนห้าง ตลาดสัญจร มันจึงทำให้ความตื่นเต้นของการไปตลาดมันจืดจาง แทนที่จะซื้อเยอะ ก็ไม่จำเป็น จะใช้เมื่อไรค่อยซื้อ
ยุคของการแข่งขันของคนขายสินค้า ปัจจุบันนี้ยิ่งกว่าเดิมมีตลาดแบบสด ๆ คือ Live สดขายของ คนซื้อแทบไม่ต้องออกจากบ้านไปซื้อ ก็ CF กันผ่าน Mobile กันได้ทันที จะซื้อตอนไหนก็ได้ การตลาดแบบบนห้าง ตลาดแบบสัญจร มันจึงไม่ค่อยที่จะตื่นเต้นเหมือนในยุคอดีตอีกแล้ว
ในบทนี้อยากจะมาคุยกันเรื่องการตลาดที่ต้องทำตามชื่อของบทความ Marketing for Work งานด้านการตลาดของนักการตลาด มักจะวางแผนให้ลูกค้ามาเจอกับพ่อค้ากันที่ต้องใช้หลักการตลาด ที่มักจะพูดถึง 4P ก็มาจากสินค้าก่อนเลย เรามีสินค้า ก็คือ Product นั้นเองและสินค้าเรา ใครที่จะเป็นคนซื้อ ผู้ใช้ใช่ไหม หรือ ผู้ขาย ถ้าเราเป็นผู้ผลิตเองจะขายเองก็เรียกว่า B2C แต่มีตัวแทนจำหน่ายก็มักจะเรียกว่า ว่า B2B เราจึงต้องเลือกลูกค้าก่อนและลูกค้าเรา คือ ใคร ราคา หรือ Price จะเป็นคนแบ่งกลุ่มลูกค้า ซึ่งตรงกับ P ตัวที่ 2 ที่เราจะกำหนดราคาขาย ส่วน P ตัวที่ 3 คือ Place สถานที่ ที่จะขายหรือ สื่อสารการตลาดให้ลูกค้ารับรู้นั้นเอง มาจนถึง P ตัวสุด ท้าย คือ Promotion ที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่าย ๆ จากกลยุทธ์การตลาดในการดึงดูดให้ลูกค้าควักเงินซื้อ 4P คือ พื้นฐานของการตลาดที่เราเองน่าจะรู้ดีมากที่สุดในการที่จะขายสินค้าอะไรสักอย่าง
สิ่งที่นักการตลาดต้องทำ คือ ACTION PLAN แผนการดำเนินการด้านการตลาด หลังจากที่พร้อมขาย ต้องวางแผนพร้อม ๆ ไปกับการวางแผนการผลิตควบคู่กันไป คือ คิดก่อนว่าลำดับการทำงานของเราเริ่มต้นจากอะไร เราจึงเรียกว่า Action Plan ที่กำหนดการดำเนินการโดยระบุวิธีการ หรือ กำหนดกลยุทธ์ Strategy ในการทำการตลาดให้เกิดผลลัพธ์ตามแผนการตลาดและกำหนดระยะเวลา เราเรียกว่า Time Line ที่จะต้องวางแผนในแต่ละช่วงเวลา ในบทนี้มีตัวอย่างของการทำ ACTION PLAN ของการวางแผนให้กับร้านก๋วยเตี๋ยวที่เรามีแผนจะเปิดขายแฟรนไชส์
เราเริ่มจากร้านปัจจุบันที่ทดลองตลาดมาได้ระยะ 1 และทำการปรับปรุงพัฒนารสชาติจนเป็นที่ถูกใจของลูกค้า และต้นทุนรวมถึงราคาก็สามารถที่จะทำกำไรได้ จึงพร้อมที่จะขาย เรา Focus ต่อยอดจากปั้มน้ำมันเดิม ที่เป็นแบบ OPEN AIR มาสู่ร้านก๋วยเตี๋ยวแบบติด AIR ในปั้มน้ำมันชื่อดัง เราก็ต้องเริ่มต้นจากหา Place หรือ สถานที่ ที่จะขายนำเสนอแนวคิดและรูปแบบของร้าน รวมถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่นั้นเราคงไม่ได้รับโอกาสเราไปขยายในปั๊มที่มี Traffic ที่ดีและมัน คือ ความท้าทายมาก เริ่มตั้งแต่การออกแบบร้านให้สะดุดตา แต่ต้องไม่หรูเกินที่ลูกค้าในปั้มน้ำมันจะใช้บริการได้ โดยตัวเองต้องเข้าใจลูกค้าในปั้มก่อนว่าเป็นขาประจำหรือขาจร อันนี้ก็สำคัญมาก เพราะการสร้างภาพจำ หรือ CI ในการจดจำภาพว่าในปั้มน้ำมัน มีร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อย ๆ ราคาไม่แรง งานนี้เราเลือกให้ มืออาชีพในการออกแบบร้านและด้วยพื้นที่ในปั้ม ขนาดจำกัด การออกแบบต้องแบ่งในส่วนของลูกค้ามานั่งทานในร้านและในส่วนของการ Cooking ต้องทำงานสะดวก ให้กับพ่อครัว แม่ครัวในร้านด้วย ซึ่งร้านก๋วยเตี๋ยวในปั้มที่เราเห็นมาก็จะคล้าย ๆ กัน การกำหนด Positioning ของร้านเรา จึงต้อง สร้างอัตลักษณ์ ที่ลูกค้าจะจำภาพดี ๆ เหล่านี้ไว้ เมื่อไรที่เจอปั้มน้ำมัน ลูกค้าก็จะมองหาร้านเราเป็นลำดับต้น ๆ และอีก 1 ประการ คือ ปั้มที่มี Traffic ก็จะมีคู่แข่งทางอ้อมมาแย่งลูกค้า สิ่งเรานี้เราจึงต้องมี Promotion ในการดึงความสนใจให้ลูกค้าเข้าร้านมาให้ได้ มัน คือ กลยุทธ์การตลาดล้วน ๆ ทั้งหมดก็ตรงตาม หลักการตลาด แต่เราต้องมีแผนการตลาดที่คลอด ACTION PLAN หรือ แผนการดำเนินการตาม Time Line นั้นเอง
Implementation การดำเนินการหลังจากแบบเสร็จ ก็มาถึงขั้นตอนของการลงมือทำ เป็นอีก 1 ขั้นตอนที่อาจจะหลุดแผนได้ เพราะเราต้องเลือกหาผู้รับเหมา ที่ต้องเลือกทั้งคุณภาพ แต่ราคาก็ต้องอยู่ในงบของการลงทุนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำง่าย ๆ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องของการตัดสินใจเลือกผู้รับเหมา รวมถึงต้องจัดหาอุปกรณ์ทั้งหมดในส่วนของครัวเอง เฟอร์นิเจอร์ในร้าน บางชิ้นไม่มีขายต้องสั่งผลิต ก็ต้องวางแผนในเรื่องของเวลาไม่ให้หลุดแผน เพราะเมื่อเราทำสัญญาเช่าแล้ว ค่าเช่าก็ต้องเดินแล้ว สิ่งเหล่านี้ คือ PLAN TO DO ที่จะใช้หลักลองดู ลองทำคงไม่ได้ ต้องเลือกทีมงานมืออาชีพในการรันคิวให้ได้ตามแผน ซึ่งเรามักจะเรียกว่า Check หรือ การตรวจสอบว่าเป็นไปตามแผน ตามขอบเขตของข้อกำหนดในแต่ละส่วนงานและการปรับปรุงแผน ปรับปรุงงานในกรณีที่ไม่ได้ตามข้อกำหนดเราเรียกว่า ACT รวม ๆ กันแล้ว เรียกว่า PDCA ซึ่งก็ คือ การบริหารงานอย่างมีคุณภาพนั้นเอง ฝากร้านที่เรากำลังพัฒนาร้านก๋วยเตี๋ยวนี้ด้วยนะครับ ติดตามได้ที่ร้านพ่อมะลิ ราคาแรกในปั้มน้ำมัน ปตท. https://www.youtube.com/watch?v=EvBQZrL70qc
ทั้งหมดในบทความไม่ใช่การจำลอง แต่เป็นการลงมือทำจริง ๆ ครับ ซึ่ง SMEs คนตัวเล็กแบบเราก็ทำได้เช่นกัน