การพัฒนาและประยุกต์ใช้ Lean Canvas
LEAN CANVAS กัน BMC หรือ Business Model Canvas ต่างกันอย่างไร ในบทความนี้จะมาแบ่งปันประสบการณ์จริงๆที่นำ LEAN CANVAS มาประยุกต์ใช้ ตอนนำเสนองานด้านนวัตกรรม ปี 2016 และได้รับคัดเลือกให้ไปเซ็นสัญญา เรื่อง นวัตกรรม ภายใต้ ชื่อ โครงการโรงงานน้ำดื่มมาตรฐาน ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( องค์กรมหาชน ) จากการใช้ Model LEAN CANVAS มาดูวิธีประยุกต์ ว่ามันต่างจากการใช้ BMC ต่างกันอย่างไร จากตารางทั้ง 9 ช่อง เริ่มจากช่องแรก
ช่องที่ 1 Pain Point คือ ปัญหาอะไรของธุรกิจนั่นๆ ที่เราสนใจ ยิ่งเราคลุกคลีกกับธุรกิจนั้นมากกว่า 1 ปี เราเองจะเห็นปัญหาที่แก้ได้บ้าง ไม่ได้บ้างซะส่วนใหญ่ เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เคยสบายมาอยู่แล้วเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ซึ่งได้นำเสนอเรื่องปัญหาของธุรกิจโรงงานน้ำดื่มในการเข้าถึงลูกค้าผ่าน Application คาดว่าจะช่วยให้ลูกค้ารับรู้ถึง Value Proposition ที่ดีของเราได้
ช่องที่ 2 CS หรือ Customer Segment ซึ่งใน BMC จะให้ความสำคัญกับตัวลูกค้า เราจะใช้หลักการของ STP ซึ่งนักการตลาด ถือ เป็นเรื่องพื้นฐานอยู่แล้ว ตรงนี้ขอข้ามไปเลย มาเข้าประเด็นของช่องที่ 2 เรื่อง CS ซึ่งเราเองต้องตีโจทย์ก่อนว่าลูกค้าเราเป็น B2B หรือ B2C เพื่อที่จะได้ง่ายในการออกแบบ Application ให้ตรงประเด็น กับปัญหาของธุรกิจน้ำดื่ม จึงแบ่งเป็นแบบ ค้าส่ง กับ ค้าปลีก และ Application ของเราใคร ผู้ใช้งาน คือ ใคร จุดนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะใช้มัน ที่โหลดมาจาก App Store แล้วใช้ได้เลย และเรามีวิธีสื่อสารกับผู้ใช้เครื่องมือให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร ซึ่งเคยทดลองแล้ว บางคนตีโจทย์ไม่แตกก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ของเครื่องมือได้ มีตัวอย่าง Application ที่ได้นำมาใช้งานจริงๆ สามารถศึกษาได้จาก https://youtu.be/Wfva_TLXreo
ช่องที่ 3 การนำเสนอคุณค่าที่ไม่เหมือนใคร Unique Value Proposition
ต่างจาก VP หรือ Value Proposition แบบเดิม ๆ เพราะจะต้องไม่เหมือนใคร ไม่จำเป็นต้องทำอะไรใหม่ สมัยนั้น ไม่ได้เหมือนใครและไม่มีใครทำ อาจจะ Wow ได้ แต่สิ่งที่ทำสามารถแก้ปัญหาให้กับธุรกิจน้ำดื่มได้ เมื่อได้ทดลองทำ เราก็จะค่อยๆพัฒนาการระบบจากการใช้งานของ USERs ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพัฒนาจนลูกค้าสามารถเห็นประโยชน์จากการใช้ เครื่องมือที่จะมาลดเวลาและสร้างมูลค่าให้กับการทำงานได้จริง ๆ
ช่องที่ 4 Solution ที่พัฒนาจาก Tool To Platform
เดิมที่เป็น Application คงไม่พอ เราจึงปรับมาใช้เป็น Platform และเพิ่มเติมโดย นำ AI + IOT จนเป็น Aiot มาใช้ในการบริหารจัดการโรงงานน้ำดื่ม เพื่อลดต้นทุนได้ ข้อมูลในการจัดเก็บนำมาวิเคราะห์ปัญหา ไม่ใช่แค่แก้ปัญหา แต่เครื่องจักร คนก็สำคัญมาก เราจึงต้องสร้างระบบในการบริหารคนและงานให้สัมพันธ์กัน จึงออกมาเป็น SMART DRINKING WATER FACTORY และได้ใช้จริง ๆ ในปัจจุบันและสามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้จริง
ช่องที่ 5 Channel ในกลุ่มของลูกค้าของเรา คือ นักลงทุน หรือ Investor
ลูกค้าต้องชัดเจน เพราะการสื่อสารต้องตรงกลุ่มและลงทุนในธุรกิจน้ำดื่ม แบบ One Stop Service จะลดความซับซ้อนและคล่องตัวให้กับนักลงทุน ในรูปแบบ Franchise หรือ ร่วมทุน มากกว่าคนที่อยากจะมีอาชีพน้ำดื่ม
ช่องที่ 6 Revenue Streams มาจากการ Set Up Factory การอบรมสัมมนาและ Loyalty ในการขายสินค้า ( ช่วยลูกค้าขายสินค้า ) ซึ่งธุรกิจที่เราทำ ต้องไม่ OUT อยู่ในความจำเป็นที่คนจำเป็นต้องใช้ ใช่แค่ธุรกิจแฟชั่นหรือ เป็นธุรกิจที่เข้าง่ายเกินไป จึงทำให้มีรายได้จากการบริโภคทุกวัน ก็จะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีตลาดแล้ว แต่จะทำอย่างไรให้คนมาใช้บริการ คือ ด้าน Marketing ที่ต้องทำการตลาดให้กับนักลงทุนเห็นด้านกำไรและคุ้มค่าในการลงทุน
ช่องที่ 7 Cost Structure ก็ค่าอุปกรณ์ ค่าทีมงาน แยกเป็น Project ๆ ให้มีกำไรอย่างน้อย 30 - 45 % ในการติดตั้งและดูแลจนจบโครงการ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการบริหารโครงการ ในมุมของผู้สร้างระบบ แต่ในมุมของผู้ใช้ระบบ หรือ นักลงทุนต้องมองต้นทุนเทียบกับกำไร และเราสามารถจัดการบริหารต้นทุนให้ดีกว่าคู่แข่งได้อย่างไร 1 ในกลยุทธ์ของแฟรนไชส์ คือ Economy of Scale ที่จะได้เปรียบคู่แข่งขันในด้านวัตถุดิบที่มีจำหน่วยมากกว่าราคาจึงต่ำกว่าได้
ช่องที่ 8 Key Metric หรือตัวชี้วัด คือ ลูกค้าสามารถผลิตและจำหน่าย รวมถึงคืนทุนตามแผนธุรกิจ 3 ถึง 5 ปี ซึ่งจากประสบการณ์ของการทำธุรกิจโรงงานน้ำดื่ม KPI คือ การบริหารจัดการทรัพยากรคนทำได้ง่าย เราจึงให้ความสำคัญกับทีมผู้บริการ เพราะไม่ต้องใช้คนมากในธุรกิจ แต่สามารถจะบริหารจัดการโรงงานได้ตามกรอบที่กำหนดวัดผลลัพธ์เป็นรายวันจากการผลิต เทียบกับต้นต้น สามารถที่จะสรุปได้ในแต่ละวัน
ช่องที่ 9 Unique Value Proposition ในรูปแบบเฉพาะ Franchise ยังไม่มีใครที่คิดทำ เนื่องจากโรงงานน้ำดื่ม คนส่วนใหญ่ เน้นจะสร้างแบรนด์จากการลงทุนเอง จะต้องลองถูกลองผิดในการลงทุน และประสบการณ์เราในสายงานระบบน้ำและงานวิศวกรรม กว่า 26 ปีผ่านโรงงานน้ำดื่มติดตั้งและแก้ไขมากว่า 500 โรงงาน ใน 17 จึงทำให้เข้าใจโรงวานน้ำดื่มน้องใหม่และโรงงานเก่า ๆ ที่ทำมาในยุคแรก ๆ 30 ปีที่แล้ว
แหละนี้ คือ สิ่งที่เราเลือกทำ LEAN CANVAS ทั้ง 9 ช่องที่ได้ใช้งานจริงสำหรับหนีจากทะเลแดงเดือดมาสู่ BLUE OCEAN ใน บทถัดๆ ที่ไปจะมาคุยเรื่องของทะเลสีครามกันบ้าง