แพคเกจ TaokaeCafe
แพคเกจ TaokaeCafe

Vending Machine ยุคดิจิตอล

8 ก.ย. 2565 11:02:42
Vending Machine ยุคดิจิตอล

Vending Machine ยุคดิจิตอล ย้อนกลับไปในยุคตู้เพลงหยอดเหรียญ ใครทันกันบ้าง  ?


สวัสดีท่านนักอ่านหน้าเก่าและหน้าใหม่ทุกคนครับ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมกันแล้ว เริ่มต้นกับตู้เพลงหยอดเหรียญ ใครที่ทันคนนั้นต้องแก่ เป็นแน่ แต่ที่แน่ ๆ ที่บ้านของพี่อ๊อดเองก็มีตู้เพลงยอดเหรียญให้บริการ ก็คงแก่จริง เรื่องนี้ไม่ปฏิเสธ อยากจะเล่าให้กับน้อง ๆ คนรุ่นใหม่ฟัง ก็คงจะงง ๆ ทำไมต้องไปเสียเงินหยอดเหรียญฟังเพลง  เพลงที่จำได้ ตอนนั้น เพลงผีโรงเย็น ตั้งแต่พี่ปูยังไม่ดัง เพลงเติมน้ำมันตั้งแต่ พี่หนุ่ยยังไม่แยกจากวงไมโคร หรือแม้แต่เพลงตาผุยชุมแพ จำความได้ ตอนนั้นสมัยประถม ก็ต้องมี 40 ปี เป็นอย่างน้อย วันนี้ก็คง Disruption กันไปแล้ว สำหรับตู้เพลงหยอดเหรียญ และเราก็คงเห็นอีกหลายหลายรูปแบบ ทั้งหยอดเหรียญเข้าห้องน้ำ หยอดเหรียญแลกกระดาษทิชชู จนถึง ยุค ตู้กดน้ำดื่มหยอดเหรียญ ที่มาควบคู่กับเครื่องซักผ้า หยอดเหรียญ ตัวพี่เองก็เคยประกอบตู้ขายมากก่อน แต่ปัจจุบันไม่ทำ เพราะการแข่งขันกันจนราคาตู้ไม่มีกำไร คนซื้อตู้ไปก็ไม่มีกำไร จึงเลิกทำ แต่ธุรกิจเครื่องซักผ้า หยอดเหรียญ มีจุดที่หน้าสนใจมากกว่าตู้กดน้ำหยอดเหรียญ เพราะสามารถลงหลายๆตู้ได้ ความต้องการมากกว่าตู้กดน้ำ และปัจจุบันกำลังฮอตฮิตกันอย่างมากจนเป็นกระแส “ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า “ มาติดตามอ่านกันครับ
 

บทความนี้จะขอเขียนเกี่ยวกับมุมมองของผู้เขียน หรือ พี่อ๊อด เองในฐานะผู้บริโภคเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญก่อน ปกติอยู่บ้านก็ไม่เคยซัก จะบอกว่าซักไม่เป็นด้วยซ้ำที่บ้าน แต่เคยไปใช้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญตามต่างจังหวัด เพราะเวลาเดินทาง 1 สัปดาห์ เสื้อผ้าที่เตรียมไปหมดสต๊อก ก็ต้องซักและทางเดียวที่จะซักแล้วแห้ง แบบไม่ต้องตาก ก็คงต้องพึ่งร้านสะดวกซัก เลยพอมีประสบการณ์ของการใช้เครื่องซักผ้า หลาย ๆ แบรนด์ในหลาย ๆ จังหวัด บ้าง ในมุมของลูกค้าขาจรแบบเรา ว่าต้องการร้านแบบไหน ยิ่งร้านไหนมีคนบริการจะเข้าไปใช้บริการ  เพราะเราซักไม่เป็น และไม่ชอบรอนาน ๆ จึงจะฝากให้คนที่ร้านช่วยเอาออกและเก็บผ้าไว้ให้ด้วย หลายครั้ง ที่ทำงานแล้วลืมไปเอาก็มี ต้องให้ส่งตามกลับมาที่กรุงเทพ ฯ และวันนี้ข่าวที่ OR จะเข้าไปซื้อหุ้น 40 % ของร้านสะดวกซักแบรนด์ดัง ที่เป็นรุ่นน้องเรียนแฟรนไชส์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจมาด้วยกัน ในวงเงินไม่เกิน 1,105 ล้านบาท เนื่องจากตลาดของร้านสะดวกซักมีมูลค่าในปี 2564 มูลค่า 7,000 บาทและมีร้าน 2,400 ร้านและคาดการณ์ว่าจะเติบโต ถึง 10,000 ล้านหในปี 2565
 
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของบริษัทที่ ปตท.สนใจ ปัจจุบันมีทั้งหมด 670 สาขา และมีผลประกอบการย้อนหลัง น่าจะเฉพาะส่วนของการซักในร้านสะดวกซัก ดังนี้

ปี 2562 รายได้รวม 6.65 ล้านบาท       ขาดทุน 11.62 ล้านบาท

ปี 2563 รายได้รวม 20.07 ล้านบาท      กำไร 4.90 ล้านบาท

ปี 2564 รายได้รวม 129.48 ล้านบาท     กำไร 22.92 ล้านบาท

 
ทางผู้เขียนมองในมุมของนักลงทุน จากปี 2564 กำไรอยู่ที่ 22.92 ล้านบาท จากร้านที่แจ้งไว้ 670 สาขา ก็ลองจับหารกันดูก็จะเห็นค่าเฉลี่ยของสาขากันได้ไม่ยาก แต่ข้อมูลอาจจะไม่ครบถ้วนก็คง ก็อาจจะผิดพลาดได้ ทางผู้เขียนเอง จึงไปหาข้อมูลจริงจากผู้ประกอบการที่เปิดร้านสะดวกซัก 2 ราย ตั้งแต่แนวคิดของการเริ่มต้นทำธุรกิจนี้ เพื่อจะเป็นประโยชน์กับคนที่อยากจะลงทุนในธุรกิจร้านสะดวกซักกันบ้าง

 
ผู้ประกอบการท่านแรก เริ่มที่เงินทุนไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เป็นน้องที่รู้จักกันมา ตั้งแต่ ปี 2014 ตอนนั้น น้องเป็น Sale ขายอุปกรณ์สารกรองน้ำ เราก็ได้ใช้บริการ จนน้องเขาลาออกไปขายรถหรู ได้หลายปี อยากจะมีธุรกิจของตัวเอง เริ่มที่เงินทุนไม่เกิน 1.5 ล้านบาท น้องเล่าว่า ผมเบื่องานประจำที่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ธุรกิจที่อยากทำก็เลือก Vending Machine เพราะน่าจะไม่ต้องทำงานร่วมกับคน โดยเริ่มศึกษาหาข้อมูลและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคก่อน ประมาณ 3 เดือน จึงเริ่มมองหาเครื่องซักผ้า ที่จะนำมาใช้ในร้าน  โดยไม่ได้ซื้อแฟรนไชส์  ประสบการณ์เปิด ร้าน 1 ปี 3 เดือน ได้ว่ากำไรเฉลี่ยแล้ว 2 หมื่นกว่าบาท ขอคิดที่  25,000 บาท ต้องใช้เวลา 60 เดือนถึงจะคืนทุน

 
ซึ่งน้องบอกเองว่าลองทำการตลาดดูและรายได้ก็จะ +/- ไม่ต่างจากนี้ ซึ่งรายได้อาจจะน้อยกว่างานประจำ แต่เรามองในมุมของการลงทุนก็จะได้เวลาว่างกลับชดเชย ได้ประสบการณ์มากขึ้น ปัจจุบันน้องก็บอกเซ้งกิจการ เพราะเริ่มทำธุรกิจใหม่ที่ต่อยอดจากประสบการณ์ ที่ผ่านมา และน้องบอกว่ามันอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คิด ที่จะขยายไปหลายสาขา อาจจะด้วยทำเล ของร้านที่ไม่มีที่จอดรถ ร้านอยู่กลางซอย คนที่จะมาซักก็ต้องเดินมา หรือปั่นจักรยาน ขี่มอเตอร์ไซค์ ได้เท่านั้น และสิ่งที่น้องบอกว่า “ผมคิดว่าน่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้าได้นะครับ  “ ที่จะให้คนเลิกซักที่บ้าน เหมาะกับบ้านที่ต้องตากผ้าหน้าบ้าน แล้วมาใช้บริการกับทางร้านเรา ประหยัดค่าไฟฟ้า ประหยัดค่าน้ำ และไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลเครื่องซักผ้า แต่ก็มีคนเปลี่ยนพฤคิกรรมบ้าง แต่มันยังไม่มากพอครับ และผมเลือกที่จะทำธุรกิจอื่นๆมากกว่า ขายได้ก็ ขายขายไม่ได้ก็ทำต่อครับ ขายได้ก็ไม่ได้ขายทุนอะไร

 
ผู้ประกอบการท่านที่ 2 เริ่มที่เงินทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท น้อง ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันกับคนแรก มุมมองเริ่มต้นคล้ายๆกันคือ เบื่อการทำงานกับคน  แต่ประสบการณ์ทำงานแต่กัน  น้องทำงานบริษัทส่วนตัวของครอบครัวเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ โดยเริ่มจากเป็นพนักงานขับรถสินค้า พนักงานขาย และ ผู้จัดการฝ่ายผลิต ธุรกิจสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการที่โลกในยุคปัจจุบันได้มีการนำเสนอสื่อต่างๆ ในรูปแบบดิจิตอลมากยิ่งขึ้น ทำงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว ก็เริ่มมองหาธุรกิจใหม่ในการลงทุน จนได้มาลงทุนทำร้านอาหาร 2 ร้าน ร้านอาหารแรก ลงทุนปี 2017 ชื่อ ครัวฮอม อาหารเหนือรสเลิศ  เกิดจากการเข้าไปเทคโอเวอร์ ร้านอาหารที่เปิดอยู่แล้ว ทั้งสูตรอาหารและพนักงานทั้งหมด เป็นร้านประจำ เกิดความมั่นใจในรสชาติอาหาร ว่าจะสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจจากเจ้าของเดิมได้ และยังเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์เข้าไป


ปี 2018 ทำร้านอาหารเพิ่มอีก 1 ร้าน ชื่อ ฮุย ชาบู เดลิเวอรี่ เป็นร้านชาบูที่ขายแบบเดลิเวอรี่และบุฟเฟต์หน้าร้าน ซึ่งในการ เปิดร้าน ฮุย ชาบู เดลิเวอรี่ ปีแรก ขายแต่แบบเดลิเวอรี่ โดยบริการส่งชาบูให้ถึงบ้านคุณลูกค้า พร้อมให้ยืมหม้อชาบูและเตาไฟฟ้าฟรี แต่ยอดขายยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายร้าน จึงได้เปิดบริการขายหน้าร้าน แบบบุฟเฟ่ต์ชาบู เพิ่มเติม

   ช่วงปลายปี 2018 พอขายมาได้ 5 เดือน เกิดโรคระบาดโควิด ทำให้ร้านอาหารทั้ง 2 ร้าน ต้องหยุดการขายหน้าร้าน

ขายได้แต่แบบ Delivery ซึ่งได้ผลกระทบเป็นอย่างมาก แต่ด้วยการเตรียมการขายแบบออนไลน์มาตั้งแต่ต้น พอเกิดวิกฤตโควิด ทำให้การขายแบบเดลิเวอรี่ผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นตัวช่วยร้านอาหารทั้ง 2 ร้าน ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมาได้แบบพอเอาตัวรอดมาได้

 
จากผลกระทบวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าเกิดผลกระทบอย่างมากในการกำลังการซื้อ ทำให้รายได้ของร้านอาหารหลังวิกฤตโควิดก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย รายได้ไม่เท่าเดิมถ้าเทียบจากก่อนวิกฤติโควิด

 
ปี 2022  มองหาการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ต้องใช้พนักงานน้อย ระยะเวลาหารายได้ต่อวันให้มาก และลูกค้าสามารถดูแลตัวเองได้ จึงมาตกผลึกทำธุรกิจใหม่เป็นร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมง ชื่อ  WASH IN ติดต่อเครื่องซักผ้าและระบบควบคุมการทำงานมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และมาทำแบรนด์เป็นของตัวเอง ไม่ได้ซื้อเฟรนไชส์ร้านสะดวกซักอื่น ๆ เพราะต้องการจะลดต้นทุนค่า Franchise Fee  และมีความเชื่อมั่นว่า ร้านสะดวกซัก จุดสำคัญที่จะบริการลูกค้าไม่ได้อยู่ที่แบรนด์ แต่สำคัญที่ เครื่องซักผ้าต้องได้คุณภาพที่ดี ระบบการบริการดี และอยู่ในสถานที่ตั้งที่ดีใกล้แหล่งชุมชนซึ่งร้านสะดวกซัก  WASH IN  เกิดจาก 3 เหตุผลหลักที่คิดมาข้างต้น จึงได้ทำแบรนด์นี้ขึ้นมา ซึ่งได้การตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนมีลูกค้ามาติดต่อขอซื้อเฟรนไชนจากร้าน WASH IN เป็นจำนวนมาก และพี่ก็จะติดตามชมความสำเร็จของเขาด้วยครับ

 
 ทั้ง 2 กรณีตัวอย่างของผู้ประกอบการ คนรุ่นใหม่ ต้องบอกว่าเด่นและกล้ามากในการลงทุน ลงแรงและผลลัพธ์ ที่ได้ ก็คือ ประสบการณ์ที่น่าจะได้คำตอบชัดมากกว่า ที่ไปเรียนในห้องเรียน หรือในคลาสอบรมสัมมนาต่าง ๆ แน่นอน การทำธุรกิจต้องยอมรับ ไม่ได้ขึ้นกับเราเก่งหรือ ไม่เก่ง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง แต่เราสามารถที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ของคู่แข่งได้มากน้อยแค่ไหน ก็เป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ทั้ง 2 คนและเป็นกำลังใจให้กับท่านที่ติดตามอ่านกันมาตลอด 2  หน้ากระดาษ A4 ติดตามบทความน้ำดีได้ที่ ถ้าแก่ คาเฟ่ กันนะครับ อยากให้พี่เขียนเรื่องไหนก็ส่งข้อมูลมาที่  Email :bjsamuthfc@gmail.com
 

1,931 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม