แพคเกจ TaokaeCafe
แพคเกจ TaokaeCafe

Business Model กับเทรนด์กระแสของโลกยุค Metaverse

4 ก.ค. 2565 11:00:00
Business Model กับเทรนด์กระแสของโลกยุค Metaverse

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับและยินดีที่ได้มาเขียนบทความให้กับชาว SMEs Taokae Cafe กัน ขอถอดบทเรียน ตำราบ้าง จากงานที่ปรึกษาและจากการบริหารธุรกิจ 26 ปี ที่จะมาเล่าสู่กันฟังให้ทันยุคทันสมัยตามเทรน ตามกระแสของโลกยุค Metaverse แต่ยังคงอ้างอิงหลักการตลาด Principle of Marketing ที่จะแบ่งออกเป็นเรื่อง ๆ เริ่มต้นจากแนวคิดการตลาด และการบริหารธุรกิจตาม Business Model ที่หลายคนคงเคยคุ้นเคยกัน ตั้งแต่ 5 Force Model แรงกดดันทั้ง 5 ประการที่เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการวิเคราะห์ คู่แข่งขันในของธุรกิจที่เราทำหรือกำลังจะเลือกทำกิจการ ซึ่งมันอาจจะส่งผลกระทบกับเราทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็อย่าพึ่งรีบถอดใจกันนะครับ นี้มันแค่เริ่มต้นของการศึกษาภาพรวมเท่านั้นเอง

Bargaining Power of Customers ที่มาจาก Five Forces Model เป็นแรงกดดัน 1 ใน 5 แรงกดดันที่เราต้องข้ามผ่านมันไปให้ได้ ก่อนที่จะมาวางแผนกลยุทธ์ ดำเนินกิจการ โดยที่ Michael E. Porter จากมหาวิทยาลัย Harvard เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้
Business 5 Force Model กับเทรนด์กระแสของโลกยุค Metaverse

Five Forces (5 Forces)

มาดูแรงกดดันแรก Bargaining Power of Customers เป็นแรงกดดันของลูกค้ายิ่งในธุรกิจที่คล้ายเหมือนกัน เรามักจะโดนเปรียบเทียบตั้งแต่ รูปแบบ คุณสมบัติและราคาเป็นต้น สุดท้ายเราไม่แตกต่างจากคู่แข่ง ตลาดจะเป็นคนตั้งราคาให้เราเอง ยกตัวอย่างให้ตรงกับเทรนการตลาดร้านอาหารในยุคปัจจุบัน ที่ผู้เขียนได้ไปสำรวจและทดลองใช้บริการร้านอาหารที่อยู่ใน FLOOR เดียวกัน ที่ศูนย์การค้าย่านรังสิต (กำลังจะสื่อสารเรื่องของ Location 1 ใน 4P ก็ คือ Place) นักการตลาดก็คงพอคุ้น ๆ กับ 4P หลายธุรกิจไป Focus ที่ Product หรือ P ตัวแรกก็ไม่ได้ผิด แต่เราจะเอาลูกค้าเป็นที่ตั้งหรือเราเป็นที่ตั้งก็เลือกเองได้ ตัวอย่างในบทความนี้ ขอเลือกทำเลเป็นที่ตั้ง เพื่อทำ Case Study ไปพร้อม ๆ กัน

เมื่อได้ PLACE จากการทำการสำรวจ เราเลือกใช้ STP ในการแบ่งกลุ่มลูกค้า Customer Segment เราควรระดมความคิด หรือ เรียกแบบเท่ ๆ ก็ Brainstorming เฉพาะในหัวข้อของการสำรวจพื้นที่ บริเวณห้างสรรพสินค้าย่านตลาดรังสิต ก่อนเลย (ที่เราสนใจ) หาจุดเด่นของพื้นที่ห้างดังย่านรังสิตและหาจุดเปรียบเทียบห้างรองในพื้นที่ไม่เกิน 10 กิโลเมตร ก่อนลงพื้นที่จริง ๆ มานั่งสุ่มหัว เขียนแผนที่ร่วมกัน อาจจะมีคนร่วมแนวคิดอย่างน้อย 2 ถึง 6 คน คละอายุ คละอาชีพ และ คละประสบการณ์ ยิ่งดี คนที่คิดเหมือนกันแบบตัวอย่างก็จะไม่หนีกันเลย แค่หัวข้อแรก ก็ไม่หมูแล้วนะครับ ในการกำหนดทิศทาง ข้อดี ข้อด้อยของทำเลที่ตั้งของร้านอาหารสัก 1 ร้าน นี้ยังไม่ได้ไปถึงตัวสินค้าและบริการเลยนะ ทำเหมือนกับงานวิจัยการตลาด เพื่อหาความต้องการของตลาดในพื้นที่นั้นเอง ทำให้นึกถึงเรื่องของการวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก หรือ PEST Analysis อีก 1 เรื่องที่ควรรู้ไว้บ้าง ก็ไม่ได้ผิดอะไร
Business 5 Force Model กับเทรนด์กระแสของโลกยุค Metaverseหาอ่านได้บน GOOGLE มีเพียบ บอกก่อนไม่ต้องจำไปสอบนะครับ แค่อยากให้เข้าใจหลัก ๆ ของการตลาดกันบ้าง “Understanding Marketing Management.“ การตลาดในยุคปัจจุบันที่ควรต้องเรียนรู้ พฤติกรรมของลูกค้า หรือผู้บริโภคของเราให้ตรงตลาดยุคตามสมัยนั้นเอง "Defining Marketing for the New Reality"

นี้ แค่แรงกดดันแรกเท่านั้นเอง และเรื่องที่น่าสนใจของ Five Forces (5 Forces) มาดูแรงกดดันที่ 2 ก็ คือ Industry Rivalry การแข่งขันกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ธุรกิจที่คล้ายและเหมือนกับธุรกิจที่เราจะดำเนินกิจการ หากมีจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้ธุรกิจแข่งขันที่รุนแรงและเกิดการแย่งลูกค้ากัน กลายเป็นสมรภูมิเลือดสาด หรือ Red Ocean ทำไมถึงต้องเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ ก็เพื่อเราจะได้ประเมินสถานการณ์จำลองได้แม่นขึ้น
Business 5 Force Model กับเทรนด์กระแสของโลกยุค Metaverse

มาดูแบบจำลองแรกกัน เมื่อลูกค้าที่ตรงมาในพื้นที่หรือ FOOD Zone ใครจะเป็นตัวเลือก มาถึงตรงนี้

เราตัดเหลือแค่ 3P แล้วนะ (Product, Price, Promotion) คนที่จะเลือกเข้าร้านไหนในพื้นที่ของ Zone อาหารที่มีร้านนับ 10 ร้าน ร้านปิ้งย่าง ร้านชาบู ร้านสุกี้ ร้านอาหารญี่ปุ่น หรือ ร้านอาหารไทย

ซึ่งก็จะแบ่งแยกกันไปตามความชอบของลูกค้า แต่สิ่งที่สำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเปลี่ยนใจจาก ที่ตั้งใจจะมากินร้านนั้น ๆ หันมาร้านเราได้ ก็คือ รูปแบบของร้านที่ต้องสร้างจุดสัมผัสว่าอยากลอง หรือจะหลอกล่อด้วย Promotion พิเศษ หรือ Price ราคาก็เลือกได้หมด มาถึงตรงนี้ตัวผู้เขียนเอง ก็มีประสบการณ์ล่าสุด ”ที่ตกหลุมโดน ล่อด้วยกลยุทธ์ของร้านจนได้“ จากความหลากหลายของร้านชาบูไปเลย แหละตัวเองไม่เคยชอบเพราะคิดว่าเหมือน ๆ กัน ยิ่งเจอ โปรโมชั่น เจอ ราคา ทีมีให้เลือกถึง 4 รูปแบบ ที่ออกมาล่อความอยาก จากเริ่มต้น 400++, 600++, 800++ จนถึง 1,300++ เราเลือก 800++ เพราะคิดว่าคุ้มค่ากับเราและงบประมาณ 3 คนที่ 1 มื้อที่ไม่ควรเกิน 3,000 บาท ที่พอจ่ายได้ เมื่อกินอิ่มยังรู้สึกพึ่งพอใจกับเงินที่เสียไป นี้ คือ VP หรือ Value ที่คนชอบพูด ชอบเขียนกัน และก็คงได้กลับมาใช้บริการอีก สร้าง CRM กับเราจนได้ เพราะเกิดความคุ้มค่า คุ้มราคาจริง ๆ

ที่สำคัญแบบจำลองนี้เป็นวันจันทร์ ช่วงหลังเลิกงานพอดี คนร้านนี้บอกเลยต่อคิวเพียบ บทความนี้น่าจะพอทำให้เห็นหลักการออกแบบธุรกิจตามหลักการตลาดได้บ้าง เหลืออีก 3 แรงกดดัน ตามตามได้ใน EP ที่ 2 ดีไหมครับ ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านกันจนจบ เกิน 8 บรรทัดครึ่งจริง ๆ

2,727 คน

taokaecafe.com มีการใช้คุกกี้ อ่านเพิ่มเติม