DESIGN TO GROW DESIGN TO GROW ออกแบบให้โตแบบโคคา-โคลา
สวัสดีกับเดือนสุดท้ายของปี 2565 อยากจะเขียนสรุปแนวคิด จากหนังสือ การออกแบบให้โต แบบโคคา-โคลา องค์กรที่อยู่มานับ 100 ปี ทำไม Coca-Cola ถึง อยู่ยาวนาน และขยายเติบโตไปได้ทั่วโลก กุญแจสำคัญ คือ อะไร " การออกแบบสำคัญอย่างไร " และ สิ่งที่ถูกนำมาเผยแพร่ใน หนังสือ “ Design to Grow: How Coca-Cola Learned to Combine Scale and Agility ” จะเป็นแนวทางให้กับ SMEs บ้านเราได้บ้างไหม มาดูสาระสำคัญในแต่ละบทกันก่อน
สารบัญ : ออกแบบให้โตแบบโคคา-โคลา ออกแบบเพื่อการขยายขนาด
บทที่ 1 การออกแบบ
บทที่ 2 ขนาด
บทที่ 3 ความซับซ้อน
บทที่ 4 ฉลาดขึ้น
บทที่ 5 เร็วขึ้น
บทที่ 6 ลีนขึ้น บทส่งท้าย คลื่นลูกต่อไป
ทั้งหมด 6 บทในหนังสือเล่มนี้ ที่อยากหยิบยกเรื่องของการออกแบบธุรกิจ คือ สิ่งที่สำคัญมาก เรียกว่าคล้ายๆกัน อยากจะยกทฤษฎีของการสร้าง TEAM Work และเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเริ่มต้น ของการออกแบบ Team Work ที่ดี
ซึ่ง SMEs เราอาจจะทำอะไรคนเดียวได้นะครับ แต่บางทีมีหลายคนก็น่าจะดีกว่าทำงานแค่เราคนเดียว What is the Tuckman Tool? สังเกตจากกราฟจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ช่วงเวลาที่น่าสนใจมากมาทำความเข้าใจกัน
FORMING : จะเรียกว่า การตั้งไข่ การออกแบบเรื่องของคน การหาคนที่เหมาะสมกับงานของเราได้อย่างเหมาะสม การสร้างทีมที่เราต้องสนับสนุนให้ทีมทำงานได้อย่างมีคุณภาพตามที่เราออกแบบ Core Business ยกตัวอย่าง ที่ใกล้ตัวก็ คือ บริษัท พัฒนาธุรกิจน้ำดื่ม ( ประเทศไทย ) จำกัด ยกตัวอย่าง เราจะพัฒนาด้านอะไรกันบ้าง เช่นพัฒนาด้านเทคโนโลยี เราก็ต้องเลือกคนที่ทำงานสาย Tech ได้ก็ต้องกำหนดให้เป็น Key Person พื้นฐานต้องจบวิศวะกรเป็นต้นและเราต้องฝึกให้ทำงานได้ตามที่องค์กรกำหนดกลยุทธ์ ไม่ใช่เลือกการตลาดนำ แต่ทีมการตลาดก็ต้องทำในส่วนงานสนับสนับสนุนและส่วนอื่นๆ ก็ต้องมีคนที่เก่งเฉพาะด้าน เช่น เรื่องของคน เราเองก็ต้องหาคนที่เหมาะสมที่จะคอยดูแลทีมให้ทำงานรวมกันได้ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกัน ซึ่งจะต้องสร้างความเข้าใจกับงานที่ต้องทำร่วมกัน และบทบาทที่สำคัญ อีก 1 คน คือ ทีมบริหาร ผู้บริหาร หรือ ผู้นำมีความสำคัญมากที่จะช่วยให้ทีมเข้าใจวัตถุประสงค์ Corporate Strategy ที่เป็นนโยบายหลัก การกำหนด JD หรือ บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของทีมที่ดี จึงขอเรียกว่าเรียกว่า เป็นขั้นตอนของการ FORM TEAM
STORMING : สังเกตจากกราฟ คือ จะตกลงมา เพราะเป็นช่วงที่ยากที่สุดขององค์กร หลังจากตั้งไข่ได้ การทำงานร่วมกันจากคนที่มาจากที่ๆ แตกต่างกัน ที่ทำงานร่วมกัน และการทำงานช่วงแรก คือ การลงทุนที่ยังไม่เห็นกำไร องค์กรที่ดีจะต้องมีเงินทุนในช่วงเริ่มต้นเพราะทุกภาคส่วนต้องใช้เงินในการทำงานทั้งสิ้น ปัญหาต่างๆ จะรุมมาที่ผู้นำองค์กร แผนที่วางไว้ อาจจะไม่เร็วเหมือนที่เราวางแผน การสร้างกำลังใจให้คนในทีมมีความสัมพันธ์ที่ดี การทำงานที่ดี ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนที่ดีไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ ทีมต้องมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย ที่จะต้องหลีกเลี่ยงปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งผู้นำองค์กรก็ต้องมีกำลังที่ดี เช่นกัน ในการทำงานเป็นทีมที่ดี ที่ต้องคอยสนับสนุนกันและกันประคบประครองให้ทีมสามารถทำงานได้เกิดผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน
NORMING : หลังจากผ่านเรื่องที่ต้องทำงานหนักๆ ได้แล้ว สังเกตจากกราฟ คือ จะทะยานขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ยากที่สุดขององค์กร การวางแผน และการจัดการให้แต่ละทีมทำงานให้ได้ตามกำหนดระยะเวลาหลังจากที่งานเริ่มเข้ามา ความพร้อมของทีมสามารถาที่จะทำงานได้ตามที่รับมอบหมาย และ ก็ต้องช่วยกัน แม้จะไม่ใช้งานในส่วนที่ดูแลก็ตาม การเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และจะมองเห็นจุดแข็งของเพื่อนร่วมงานอย่างชัดเจนและก็ยอมรับจุดอ่อนของทีม เพื่อหาคนที่จะมาเสริมทัพ หรือ ทีมได้ การพัฒนาจึงเกิดขึ้นเอง การช่วยเหลือจะทำให้ทีมกำลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การช่วยกันคิดและช่วยให้ทีมตัดสินใจด้วยตนเองได้บ้าง จะสร้างผู้นำรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาได้
PERFORMING : สังเกตจากกราฟ กำลังจะเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ เราเรียกว่า นี้ คือ การนำเสนอ Value Proposition เป็นนการเสนอคุณค่า ตัวอย่างของงานพี่เอง หลังจากให้น้องๆ ไปอบรมและเรียนรู้กว่า 3 เดือนพร้อมลงทำงานจริงๆ บ้าง การนำเสนอผลงานให้กับลูกค้าให้กับองค์การเห็นการเปลี่ยนแปลงของทีมและงานนี้ให้น้องไปสมัครโครงการขอทุนด้านนวัตกรรมจากสำนักนวัตกรรม NIA เพื่อได้ลงมือทำจริงและนำเสนอแนวคิดของคนรุ่นใหม่ๆ ได้นำเสนอผลงานที่เขาจะภูมิใจ เมื่อเขาทำมันได้หรือแม้จะไม่ได้ เขาก็น่าจะได้ประสบการณ์และกลับไปปรับในส่วนที่เขายังขาด นี้ คือ สิ่งที่พี่สอนให้น้องๆ ทำงานเป็นและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาได้เราได้เหมือนกับในหนังสือบทสรุปสุดท้าย คลื่นลูกต่อไป ข้อกำหนดของการนำเสนองาน ที่ให้น้องไปสมัครกันหน่อย ( ดูจาก https://bit.ly/3ORvmHl )
สิ่งที่อยากจะทิ้งท้าย คือ เรื่องของเกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์การพิจารณาโครงการ Thematic
1. การพิจารณาด้านความเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยี / บริการ 45%
หัวข้อนี้ต้องให้น้ำหนักมากๆ ว่าเข้าความเป็นนวัตกรรมไหม
2. การพิจารณาด้านศักยภาพด้านการตลาดและกลยุทธ์ธุรกิจนวัตกรรม 30%
หัวข้อนี้ต้องตอบโจทย์การตลาด ว่ามีลูกค้ากลุ่มนี้ขนาดไหน
3. การพิจารณาด้านศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจนวัตกรรม 25%
หัวข้อนี้ต้องตอบโจทย์เรื่องควาชำนาญของธุรกิจ
และงานนี้จะขอเป็นพี่เลี้ยงที่จะสนับสนุนน้องๆทำโครงการนี้ครับ