THE BEGINNING การเริ่มต้นธุรกิจจากรั้วมหาลัย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรรับเชิญ ปีที่ 2 ในการ Interview นักศึกษาปริญญาตรี ชั้น ปีที่ 3 และปีที่ 4 ของมหาลัยชื่อดังย่านรังสิต วิชา Sale Management โดยมีวิทยากรรับเชิญร่วมสัมภาษณ์จากหลากหลายอาชีพวิทยากร 1 ท่านสัมภาษณ์ นักศึกษารอบละ 1 คน เฉลี่ย 3 – 6 คน จะมาสรุปเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านได้เห็นแนวคิดของเด็กรุ่นใหม่ๆ และการเรียนระดับปริญญาตรี จากการทำกิจกรรมครั้งนี้กันครับ โดยมีการสัมภาษณ์ทั้งแบบ ONLINE และ ON SITE
มาทำความเข้าใจในวิชา Sale Management กันก่อนว่าน้องเรียนอะไรกันบ้างในวิชานี้ โดยอาจารย์ส่งตารางเรียนของน้อง ๆมาประกอบการสัมภาษณ์ ซึ่งจะได้เห็นว่าน้อง ๆ เรียน รหัสวิชา MK323 เรียนสัปดาห์ละครั้ง คาบละ 4 ชั่วโมง หรือ 270 นาที เรียกว่า เสมือนได้ทำงานครึ่งวันกันเลย เรียนกันทั้งหมด 12 Week ระยะเวลา 4 เดือน ก็ประมาณ 1 เทอม รวมสอบ รวม Present รวมสัมภาษณ์นี้ด้วย
Week 1. Introduction + Sale Management
Week 2. Negotiation WorkShop - Game
Week 3. Case SebeA , Objection Handling
Week 4. Student Present Assignment #1
Meeting SD to gather Handbook case #1
Week 5. Case Day WorkShop
Week 6. Meeting SD to gather Handbook case #2
Week 7. Student Present Assignment #2
Week 8. Guest Online
Week 9. Meet SD to gather Handbook case #3
Week 10. Present Assignment C - SD Handbook
Case Day – Sales Director Handbook
Week 11. Present Assignment #2
Week 12. Final Interview + Submit Assignment C
ต้องบอกว่าเป็นการเรียนที่เข้มข้นมากๆ 45 ชั่วโมงของการเรียน 1 วิชาของเด็ก ปริญญาตรี จากการสัมภาษณ์ ยิ่งทำให้รู้ว่าเด็กที่ผ่านวิชานี้ น่าจะมีพื้นฐานของการเป็น Sale ที่ดี มีทัศนะคติในมุมที่กว้างขึ้นจากที่ได้สัมภาษณ์น้อง ๆ 6 คน ทำให้รู้ว่าน้อง ๆ เข้าใจ คำว่า Sale ที่มากกว่าพนักงานขาย จากตารางให้คะแนนดูแล้วคงไม่ได้ไปเป็นแค่คนขายของ แต่ต้องเป็น Sale ที่มีของมากกว่า Sale ธรรมดาๆ แน่ ๆ
อาจารย์ได้ทำตารางให้วิทยากรลงคะแนนสัมภาษณ์ ทั้งหมด 7 หมวด ที่สำคัญๆ มาทำความเข้าใจแนวทางของผู้สอนที่ออกแบบหลักสูตรนี้กันบ้าง
1. สามารถนำเครื่องมือการขายที่เรียนมาไปใช้ได้
2. ความคิด / ทัศนคติของผู้จัดการฝ่ายขายที่ถูกต้อง
3. สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ - ระดับนักเรียน
4. เข้าใจบทบาทของผู้จัดการฝ่ายขาย
5. สามารถเป็นพนักงานขายที่ดีได้
6. สามารถเป็นผู้จัดการฝ่ายขายได้เร็วขึ้น
7. สามารถทำงานร่วมกับผู้จัดการฝ่ายขายได้ดี
สรุป ผลลัพธ์ของนักศึกษา
- จากที่ได้สัมภาษณ์น้อง ๆ หลายคนพูดถึง CBA หรือ การวิเคราะห์ต้นทุน และผลประโยชน์ Benefit Cost Analysis เท่าที่จับใจความได้ ซึ่งก็จะให้คะแนนข้อนี้ ระดับ 3 และ 4
- แต่ยังไม่มีใครเทียบเคียงที่ชัดเจนได้ ซึ่งไม่ได้แปลกอาจจะมองภาพไม่ออก แต่น้องสามารถแยกออกระหว่างหน้าที่ของผู้จัดการฝ่ายขายที่ต้องทำหน้าที่วางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ที่ตรงกับวิชาการตลาดที่เคยอ่ายหรือเคยเรียนกันมาบ้าง ว่าต้องทำอย่างไร เมื่อมีโอกาสทำหน้าที่ในตำแหน่ง ซึ่งน้องจะตอบว่าต้องศึกษาข้อมูลเก่าและไปปรับแก้ให้ได้ตามเป้าหมาย แต่ในความเป็นจริงมันคงไม่ง่ายเหมือนที่น้อง ๆ คิด เพราะการแก้เรื่องคน คือ เรื่องที่ยากมาก เราเองต่างให้มุงมองน้องทั้ง 2 ด้านในการมองการทำงานในองค์กรที่อาจจะไม่ได้ง่าย ส่วนใหญ่น่าจะจำเคสมาตอบคำถาม
- ก็มีน้องที่เคยทำงานช่วงปิดเทอมเป็นพนักงานเสิร์ฟ น้องตอบค่อนข้างดีมาก ว่าผู้จัดการร้านต้องรู้ลึกถึงว่าเมนูไหนขายดีไม่ดี รู้ถึงการเชียร์เมนูอาหาร ซึ่งมันจะทำให้วางแผนของการจัดการสต๊อกได้ง่ายขึ้น เป้นการบริหารที่รู้ว่าการทำธุรกิจร้านอาหารไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด น้องมองออกจากที่ได้เรียนวิชานี้มีประโยชน์มากในการที่จะเป็นเจ้าของกิจการต้องเข้าใจองค์ประกอบของธุรกิจมากกว่าแค่เปิดร้านขายอาหาร เรื่องการวางแผนที่จะวางคนให้ตรงกับงาน เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์
อีก 1 เรื่องที่ทางวิทยากรได้สอบถามน้องๆ จบแล้วสมัครงานอยากได้เงินเดือนเท่าไร?
น้องทั้งหมดคิดและตอบมากกว่า 20,000 บาท สูงสุด คือ 40,000 บาท เราวิทยากร ก็รู้สึกดีใจที่น้องกล้าตอบคำถามและคำแนะนำของวิทยากรจะสอนน้อง ๆ ว่า มีอะไรมานำเสนอบ้างถ้าได้รับเงินเดือนตามที่ขอและแน่ใจไหมว่าเขาจะจ้าง คือ การบ้านที่น้อง ๆ ต้องกับไปทำการบ้าน ทำอย่างไรให้คนจ้างเห็นว่าเราเกงและทำได้ ใครมีธุรกิจที่บ้านให้เอาความรู้ที่เรียนลองไปปรับแก้ไขกันก่อนดีไหม เพราะไปทำงานก็จะเจอปัญหาไม่ต่างจากคนที่บ้าน ที่น่าจะแก้ยากกว่ามาก แต่แก้ที่บ้านได้ ข้างนอกก็คงจะมองภาพได้ง่ายขึ้น ดีใจที่เด็กรุ่นใหม่ๆเก่งมากกว่าที่เราคิดมากเลยครับ ประสบการณ์จะสอนให้น้อง ๆประสบความสำเร็จในวิชาชีพและวิทยากรที่สัมพันธ์ในกิจกรรมครั้งนี้ ต่างออกปากชมว่าน้อง ๆ เก่งมาก บอกเลยนะครับใครได้น้อง ๆ จากสถาบันนี้ไปรับรองไม่ผิดหวัง