Branding Strategy EP2
สร้างแบรนด์กันต่อ บทความที่แล้วอธิบายไปได้ 3 หัวข้อ อีก 4 หัวข้อ ทั้งหมด มี 7 หมวด ที่ต้องทำความเข้าใจ จะทำ SMEs มองเห็นแนวคิดการตลาด การสร้างแบรนด์ ในแต่ละหมวดเขาทำกันอย่างไร?
1. BRAND Strategy
กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าจดจำ
2. BUSINESS Strategy
กลยุทธ์ของการทำธุรกิจ การวางแผนด้านการตลาด หรือ Goal Setting เป็นการกำหนดเป้าหมายที่องค์กรต้องการ ภายในกรอบที่กำหนด และสามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี
3. SEGMATATION & TARGETING
กลยุทธ์การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในบทความที่ผ่าน ซึ่งสำคัญไม่แพ้กันเลยมา ทำความเข้าใจ อีก 4 หมวดว่าสำคัญอย่างไร ?
ก่อนจะไปหมวดที่ 4 มี เครื่องมือที่จะช่วยเห็นภาพในชัดขึ้น คือ Anosoff”s ที่จะช่วยขยาย ธุรกิจสำหรับ SME ด้วย การหาตลาดที่เหมาะกับสินค้าและบริการในปัจจุบัน รวมถึงกลุ่มลูกค้ารายใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละช่วงของเวลา เช่น มีโควิด อาจจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นได้มากมาย และบางธุรกิจอาจจะไปต่อไม่ได้เลยก็ได้ และคุณสามารถขยายตลาดใหม่ ๆ ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ขยายธุรกิจ ด้วยเครื่องมือ Ansoff’s Matrix ซึ่งผู้ออกแบบและคิดค้น คือ Mr. Harry Igor Ansoff นักพัฒนากลยุทธ์ชาวอเมริกัน-รัสเซียชื่อดัง ซึ่งเครื่องมือดังกล่าว ได้สรุปแนวทางการวางกลยุทธ์การตลาดจากการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และตลาดในมุมมองของตาราง Matrix ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเลือกกลยุทธ์ ในตารางทั้ง 4 ช่อง ที่เหมาะกับเรามากที่สุด เลือกมาทำทีละกลยุทธ์ มาดูกัน 4 กลยุทธ์มีอะไรกันบ้าง?
Market Penetration สินค้าเก่า ตลาดเก่า ก็คงต้องรักษาคุณภาพ แต่ลดต้นทุน เพื่อกำไรมากขึ้น คือ สิ่งที่นักบริหารต้องจัดการ ไม่ใช่แค่สินค้า แต่วิธีก็สำคัญที่จะรักษาฐานลูกค้าเก่า ๆ ได้
Product Development พัฒนาสินค้าใหม่ เพิ่มสี เพิ่มกลิ่น หรือ เพิ่มรสชาติใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มราคาสำหรับคนที่อยากลองอะไรใหม่ ๆ แต่ยังคงขายตลาดเดิม เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์ได้ และสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
Market Development ผลิตภัณฑ์เดิม หากลุ่มตลาดใหม่ ในการขาย ยอดขายเพิ่มขึ้น ปัจจุบันขายแต่ OffLine ก็ขยายโดยการผ่าน Online ที่มุ่งตรงไปยังผู้บริโภค ราคาที่ขายก็สามารถปรับให้เหมาะสมกับตลาดใหม่ ๆ หรือชุมชนออนไลน์
Diversification สินค้าใหม่เลย และตลาดใหม่เลย ที่ยังไม่มีใครครองตลาด เรียกว่าปรับใหม่ จากเดิมที่ยังไม่มีใครคิดทำ สร้างกลุ่มตลาดใหม่ เราสามารถที่จะกำหนดราคาตลาดได้ด้วย
จากแนวคิดของกลยุทธ์ Anosoff”s ทำให้การวางตำแหน่งสินค้าของเราในการเลือกตลาด เทียบกับแบรนด์คู่แข่งในตลาด จากการ Brainstorming ของทีมการตลาดภายในและภายนอกเพื่อที่จะมีมุมมองที่แตกต่างกันตามลักษณะของสินค้าและบริการของเรา
4. Marketing Positioning & Job to Be Done
การออกแบบ Perceptual Positioning Map การใช้การ Map การรับรู้เพื่อการวิเคราะห์การแข่งขันใช้แผนที่ เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของลูกค้าเกี่ยวกับแบรนด์ หรือ ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากในการทราบตำแหน่งของแบรนด์ จึงเรียกอีกอย่างว่า แผนที่ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การรับรู้ของผู้บริโภค มาจัดตำแหน่งในกราฟของแบรนด์รถยนต์น่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นในการเปรียบเทียบตั้งแต่ความหรูหราของแบรนด์ ราคา และสไตส์ของรถที่บ่งบอกตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน เพราะบางคนไม่ชอบเหมือนใคร จึงมีราคาคนหรูสำหรับคนที่ชอบสะสมรถหรู
ทั้งหมดเราก็ต้องทำ เรียกว่า Job to Be Done คือ งาน หรือ ผลลัพธ์ ที่เราต้องแก้ Pain จากปัญหาของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ไม่ใช่แค่ตัวสินค้า แต่การบริการที่แตกต่างก็ทำให้ลูกค้า เกิดความประทับใจจากการใช้บริการ ยกตัวอย่างที่พึ่งได้สัมผัสกับตัวเองในการไปใช้ศูนย์บริการนถยนต์ แบรนด์เดียวกัน แต่คนละเจ้าของ การให้บริการ หรือ การต้อนรับที่แตกต่างกันจากการที่เคยใช้ศูนย์ประจำ ไม่ใช่ว่าศูนย์เดิมไม่ดีนะ แต่วิธีการนำเสนอตั้งแต่การรับรถก็ต่างกัน ทำให้เรารู้เลยว่า ศูนย์บริการรถยนต์ที่ดูจะเหมือน ๆ กัน แต่แท้จริงแล้วไม่เหมือนกัน และนี้แหละที่จะมัดใจลูกค้าเก่าได้อย่างดี Job to Be Done ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของ Function แต่เป็นหลักนึงของ Emotional Marketing ที่ ก็สำคัญเพราะลูกค้าไม่เคยอยากได้แค่ว่าสินค้าหรือบริการมันทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง แต่ความต้องการทางอารมณ์และความต้องการทางสังคม ลูกค้าก็อยากได้ในตอนท้ายหลังจากใช้งานสินค้าและบริการด้วย
5. Product & Service Development
การออกแบบสินค้า สำหรับคนที่เน้นขายสินค้า เมื่อเข้าใจตลาดแล้วก็ลงมือ จะเริ่มต้นจากจ้างผลิต หรือ นำสินค้าเก่ามาพัฒนาสูตร ก็สามารถที่จะเลือกทำได้ และสำหรับงานบริการก็ดูจากปัญหาเดิมที่เราจะนำมาพัฒนาให้ลูกค้าพึ่งพอใจกับสินค้าหรือบริการของเราที่สามารถแก้ปัญหาให้เขาได้ อย่างไรก็เลือกฟังเสียงผู้บริโภคบ้าง ว่าเขาต้องการอะไร
6. Market Strategy & Plan
คือ การวางแผนในด้านของ สื่อการตลาดที่จะต้องมีการกำหนด Action Plan สำหรับ ปีหน้าเราจะทำโครงการอะไรกันบ้าง ที่จะตอบโจทย์ให้กับลูกค้าของเรา มัน คือ การออกแบบแผนในแต่ละช่วงเวลา เริ่มต้นตั้งแต่ ปีใหม่ วันวาเลนไทน์ ที่จะส่งต่อมอบรถดี ๆ เพราะรถเหมือนกันซื้อที่ไหนก็ได้ แต่การบริการที่ดี มาจากการบริการที่ดี Sale ที่ดีจะขายสร้างขายขายให้กับลูกค้าได้ นี้ คือ สิ่งที่นักการตลาดจะต้องวางแผนในแต่ละปีให้บรรลุเป้าหมาย
7. Financial Analysis
การวิเคราะห์ด้านการเงิน คือ การวางแผนด้านบัญชีและการเงิน ซึ่ง SMEs ที่เริ่มต้นใหม่ ๆ เงินทุนน้อยก็จะมุ่งหน้า หาแต่รายได้ จนลืมบันทึกรายจ่าย กำหนดนโยบายทางการเงินในระยะยาว และการประเมินค่าธุรกิจเพื่อกำหนดวิธีการทำกำไร ความยั่งยืน และความแข็งแกร่งของศักยภาพในการสร้างรายได้ และสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเปิดใจเรียนรู้ ในเรื่องของระบบบัญชี ระบบภาษี ปัจจุบันนี้ พี่เองก็พึ่งมาสนใจจริงจัง เพราะการทำให้ธุรกิจที่ถูกต้องสามารถที่จะนำไปยื่นกู้กับสถาบันการเงินได้ง่ายและถูกต้องในการขยายธุรกิจในยุคปัจจุบัน ซึ่งจะต่างกับยุคอดีตที่อาจจะใช้บริษัทกู้ กรรมการค้ำ เดียวนี้ หลาย ๆ ธนาคารจากงบดุลกำไรขาดทุนจากงบการเงิน และปัจจุบันก็มี Program บัญชีที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น สามารถทำให้ ผู้ประกอบการวางแผนได้ครบถ้วยและติดตามงานผ่าน Application ได้แบบ Real Time ซึ่งเราจะทราบสถานะการเงินและสถานการณ์เปิดบิล รายรับ รายจ่าย ต้นทุนแบบคงที่ รวมถึงต้นทุนแบบแปรผันทั้งหมดจะนำมาใช้ในการวางแผนการขององค์กร รวมถึงการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งรวมไปถึงการประเมิน การคาดการณ์ และการกำหนดกระบวนการวินิจฉัยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในองค์กรซึ่งจะสรุปไว้ในงบการเงิน และเดียวค่อยมาขยายเรื่องนี้กันเพิ่มเติมในบทถัดไป
จากภาพประกอบทุกวันนี้เป็นเรื่องง่ายสำหรับการทำด้าน Financial Analysis ยังเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด เนื่องจากจะช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรในอนาคต นอกจากการให้ข้อมูลที่จำเป็นที่อาจจะส่งผลต่อราคาหุ้นหรืออัตราดอกเบี้ยแก่ผู้ให้ยืมและนักลงทุน ข้อมูลที่ว่านี้ยังช่วยให้ผู้จัดการบริษัทสามารถวัดผลการปฏิบัติงานในด้านของความคาดหวังหรือการเติบโตขององค์กรได้